บมจ.การบินไทย (THAI) เปิดเผยว่า ในปี 59 บริษัทได้เข้าสู่ระยะที่ 2 ของแผนปฏิรูปองค์กรคือ “สร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขัน" โดยมีกลยุทธ์ในการดำเนินงาน 4 ด้าน ดังนี้ 1) การหารายได้ โดยเน้นที่แผนการเพิ่มรายได้ในทุกๆด้าน 2) การลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพ 3) การสร้างศักยภาพในด้านต่างๆ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน 4) การสร้างความเป็นเลิศในการบริการลูกค้า
โดยบริษัทได้มีการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น การนำระบบเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานสากลเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารรายได้ และการให้บริการ การปรับปรุงการบริการชั้นธุรกิจแบบใหม่ (New Business Class Service) การขยายเครือข่ายเส้นทางบิน เช่น เปิดเส้นทางบินใหม่ กรุงเทพฯ-เตหะราน ประเทศอิหร่าน และเส้นทางบินตรงจากภูเก็ต-แฟรงเฟิร์ต รวมถึงกลับไปทำการบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-มอสโคว์ และเพิ่มความถี่ในเส้นทางยุโรป รวมทั้งจัดให้มีโครงการร่วมใจจากองค์กร (MSP) ต่อเนื่องจากปีก่อน เป็นต้น
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ปรับปรุงฝูงบิน (Fleet Strategy) โดยรับมอบเครื่องบิน A350-900XWB ใหม่ 2 ลำ ซึ่งนำมาให้บริการในเส้นทางข้ามทวีปเป็นหลัก และปลดระวางเครื่องบินเช่าดำเนินงาน B777-200 2 ลำ ทำให้ฝูงบิน ณ 31 ธันวาคม 2559 มีจานวน 95 ลำ เท่ากับ ณ สิ้นปีก่อน แต่มีการใช้ประโยชน์ของเครื่องบินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) เพิ่มขึ้น 1.9% ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) เพิ่มขึ้น 2.5% อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 73.4% สูงกว่าปีก่อนซึ่งเฉลี่ยที่ 72.9% และมีจานวนผู้โดยสารที่ทาการขนส่งรวมทั้งสิ้น 22.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4.8%
จากการปรับปรุงการดำเนินงานในหลายๆ ด้านตามแผนยุทธศาสตร์ และการปฏิรูปองค์กรได้ประสบความสำเร็จอยู่ในระดับที่น่าพอใจ นอกจากจะได้รับความพึงพอใจจากลูกค้าในภาพรวมสูงขึ้น ซึ่งสะท้อนได้จากรางวัลต่างๆ ที่บริษัทฯ ได้รับในปีนี้แล้ว ผลประกอบการของบริษัทฯ และบริษัทย่อยยังดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 4,071 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนขาดทุน 1,304 ล้านบาท หรือ ดีขึ้นจากปีก่อน 412.2%
สาเหตุหลักเนื่องจากค่าใช้จ่ายรวมลดลง 7.1% จากค่าน้ำมันเครื่องบินลดลง 17,907 ล้านบาท (28.3%) โดยราคาน้ำมันเฉลี่ยลดลง 21.6% และการบริหารความเสี่ยงราคาน้ำมันได้ดีขึ้น ต้นทุนทางการเงิน-สุทธิ ลดลง 431 ล้านบาท (7.7%) จากการบริหารเงินสดและการปรับโครงสร้างทางการเงิน แต่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่รวมน้ามันสูงขึ้น 4,773 ล้านบาท (3.9%) ส่วนใหญ่เกิดจากค่าซ่อมแซมและซ่อมบารุงอากาศยานเพิ่มขึ้น สำหรับรายได้รวมลดลง 8,190 ล้านบาท (4.3%) สาเหตุหลักเกิดจากรายได้ค่าโดยสารและน้าหนักส่วนเกินลดลง 4,428 ล้านบาท (2.9%) จากการปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมชดเชยค่าน้ำมัน และรายได้อื่นๆ ลดลง 3,775 ล้านบาท สาเหตุหลักเกิดจากในปีก่อนได้รับเงินชดเชยค่าเสียหายจากการส่งมอบเก้าอี้ผู้โดยสารชั้นประหยัดล่าช้าประมาณ 3,968 ล้านบาท
ในปี 59 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียวที่ส่วนใหญ่เกิดจากการประมาณการ ค่าซ่อมแซมเครื่องบินเช่าดำเนินงานตามสภาพการบินและเงื่อนไขการบำรุงรักษาเครื่องบิน จำนวน 1,317 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินการตามแผนปฏิรูป จำนวน 1,228 ล้านบาท และผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์และเครื่องบิน 3,628 ล้านบาท แต่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 685 ล้านบาท ส่งผลให้ปี 59 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 47 ล้านบาท โดยเป็นกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 15 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.01 บาท ในขณะที่ปีก่อนขาดทุนต่อหุ้น 5.99 บาท หรือดีขึ้นจากปีก่อน 100.2%
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 283,124 ล้านบาท ลดลงจากวันที่ 31 ธันวาคม 2558 จานวน 19,347 ล้านบาท (6.4%) จากการชำระคืนเงินกู้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว การขายเครื่องบินที่ปลดระวาง และการสำรองด้อยค่าเครื่องบินเพิ่มขึ้นในปีนี้ หนี้สินรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อย เท่ากับ 249,536 ล้านบาท ลดลง 20,009 ล้านบาท (7.4%) และส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวน 33,588 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 662 ล้านบาท (2.0%)