RICH เผยศาลล้มละลายทยอยนัดไต่สวนคำร้องฟื้นฟูกิจการถึงช่วงสิ้นปี 60 หลังมีเจ้าหนี้ 20 รายยื่นค้าน

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday May 31, 2017 08:16 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บมจ.ริช เอเชีย คอร์ปอเรชั่น (RICH) แจ้งว่าตามที่บริษัทยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง มีเจ้าหนี้รวม ทั้งหมด 499 ราย มีภาระหนี้รวมเป็นเงิน 2,457.07 ล้านบาท โดยเป็นคดีหมายเลขดำที่ ฟ.13/2560 และศาลล้มละลายกลางได้ นัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 29 พฤษภาคม ที่ผ่านมานั้น ปรากฎว่า มีเจ้าหนี้รวม 20 ราย มีภาระหนี้รวมเป็นเงิน 1,034.62 ล้านบาท ได้ยื่นคำร้องคัดค้าน

ดังนั้น ศาลล้มละลายกลางจึงได้กำหนดนัดไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ดังนี้

1. นัดสืบพยานฝ่ายผู้ร้องวันที่ 15 กันยายน 2560 เวลา 09.00 - 16.30 น.

2. นัดสืบพยานฝ่ายผู้ร้องวันที่ 18 ตุลาคม 2560 เวลา 09.00 - 16.30 น.

3. นัดสืบพยานฝ่ายผู้คัดค้านวันที่ 19 ตุลาคม 2560 เวลา 09.00 - 16.30 น.

4. นัดสืบพยานฝ่ายผู้คัดค้านวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00 - 16.30 น.

5. นัดสืบพยานฝ่ายผู้คัดค้านวันที่ 29 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00 - 16.30 น.

6. นัดสืบพยานฝ่ายผู้คัดค้านวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00 - 12.00 น.

7. นัดสืบพยานฝ่ายผู้คัดค้านวันที่ 12 ธันวาคม 2560 เวลา 09.00 - 16.30 น.

8. นัดสืบพยานฝ่ายผู้คัดค้านวันที่ 13 ธันวาคม 2560 เวลา 09.00 - 16.30 น.

พร้อมกันนี้บริษัทได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ตามที่มีหนังสือพิมพ์รายงานเกี่ยวกับการยื่นคัดค้านของเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ สำหรับประเด็นการใช้งบแสดงฐานะการเงินเพื่อประกอบการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น บริษัทได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการในวันที่ 6 มีนาคม 2560 ดังนั้น การใช้งบแสดงฐานะการเงินสิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2560 ประกอบการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท จึงเป็นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 และฉบับแก้ไขเพื่อแสดงฐานะการเงินล่าสุดก่อนการยื่นฟื้นฟูกิจการ ซึ่งในขณะนั้น บริษัทสามารถปิดบัญชีล่าสุดได้เพียงสิ้นสุด ณ วันที่ 31 มกราคม 2560

บริษัทจึงต้องใช้งบการเงินดังกล่าวประกอบการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ อย่างไรก็ตาม งบการเงินสิ้นสุด ณ วันที่ 31 มกราคม 2560 ได้รวมอยู่ในงบการเงินของบริษัท ประจำไตรมาส 1/2560 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2560 ที่ผ่านการสอบทานจากผู้ สอบบัญชีเรียบร้อยแล้ว และได้นำส่งเผยแพร่ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560

ส่วนการใช้เกณฑ์การบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้การค้า และเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้านั้น บริษัทมีหลักเกณฑ์ใน การพิจารณาตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ดังนี้ 1.ลูกหนี้การค้า ซึ่งบริษัทพิจารณาจากลูกหนี้ที่มีระยะเวลาในการค้างชำระเกินกำหนดเวลา หรือคาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ โดยใช้เกณฑ์การวิเคราะห์จำแนกตามอายุของลูกหนี้ รวมถึงกรณีที่ลูกหนี้มีเหตุการณ์ที่ไม่ปกติเกิดขึ้นและ คาดว่าลูกหนี้อยู่ในสถานะที่มีความไม่แน่นอนที่จะสามารถชำระหนี้ให้แก่บริษัทได้ หรือลูกหนี้ที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย

บริษัทจะทำการพิจารณาตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามความเหมาะสมและตามความเป็นจริง โดยไม่ต้องรอการพิจารณา ตามระยะเวลาการค้างชำระที่เกินกำหนดตามการจำแนกอายุลูกหนี้ของบริษัท ทั้งนี้ เพื่อให้งบแสดงฐานะทางการเงินของบริษัทแสดง ข้อมูลมูลค่าสุทธิของลูกหนี้ที่ใกล้เคียงกับมูลค่าความเป็นจริง ซึ่งเป็นไปตามหลักการของมาตรฐานการบัญชี

2.เงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้า ซึ่งกรณีที่บริษัทจ่ายเงินค่าสินค้าล่วงหน้าแล้วไม่ได้รับสินค้าตามสัญญา บริษัทจะเรียกเงินที่ จ่ายชำระล่วงหน้าดังกล่าวที่คงค้างจากการส่งสินค้าคืนทั้งจำนวน โดยบริษัทจะดำเนินการติดตามทวงถามและปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ เช่นเดียวกับลูกหนี้และใช้เกณฑ์การตั้งประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเช่นเดียวกับลูกหนี้ที่กล่าวมาข้างต้น

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญดังกล่าว บริษัทได้ยึดถือและปฏิบัติตามระเบียบนี้ของบริษัทมาโดยตลอด ซึ่ง ได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีแล้ว

อนึ่ง สำหรับลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้ และผู้จำหน่ายสินค้าที่มีปัญหาการส่งมอบสินค้า บริษัทได้ดำเนินการส่งเรื่องให้ ฝ่ายกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการติดตามและเรียกร้องสิทธิการชำระเงินเพื่อมิให้บริษัทเสียผลประโยชน์ต่อไปแล้ว


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ