AAV ปรับเป้าผู้โดยสารปีนี้เป็น 23.2 ล้านคน Cabin Factor ที่ 87%,กำไรปี 60 หด 21% รับผลราคาน้ำมันสูงขึ้น

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday February 22, 2018 11:09 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น (AAV) เปิดเผยว่า ในปี 61 สายการบินไทยแอร์เอเชีย ตั้งเป้าขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ 23.2 ล้านคน โดยมีอัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร (Cabin Factor) แข็งแกร่งอยู่ที่ 87% จากเดิมตั้งเป้าปีนี้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มเป็น 22 ล้านคน และมี Cabin Factor เฉลี่ย 84% และมีแผนรับเครื่องบินในระหว่างปีเป็นจำนวน 7 ลำ ส่งผลให้บริษัทมีจำนวนเครื่องบินทั้งสิ้น 63 ลำ

นอกจากนี้ บริษัทได้วางกลยุทธ์การเติบโตในอนาคตอันใกล้ โดยการรุกฐานลูกค้าในตลาดอินเดียและอาเซียนเพิ่มขึ้น ขณะที่ยังคงรักษาฐานลูกค้าในตลาดจีน เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาฐานลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และเพื่อขับเคลื่อนให้ไทยแอร์เอเชียมีรายได้ที่มีเสถียรภาพที่มั่นคงต่อไป

ปัจจัยบวกต่อการดำเนินงานในปีนี้มาจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอยู่ที่ 3.6-4.6% ซึ่งมีผลต่อเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ ในปีที่ผ่านมา อาทิ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนของภาครัฐฯ และภาคเอกชน รวมถึงอัตราการจ้างงานและฐานรายได้ของประชาชนในระบบเศรษฐกิจที่ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ภาคการท่องเที่ยวและส่งออกยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดี

ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคาดการณ์รายได้รวมจากการท่องเที่ยวในปีนี้จะอยู่ที่ 3.0 ล้านล้านบาท เติบโตที่ 9% จากปีก่อนหน้า โดยคาดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเติบโตเป็นกว่า 37 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 35.4 ล้านคนในปีก่อนหน้า ส่วนใหญ่มาจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐฯ และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภาครัฐฯ จึงมีมติให้ปี 61 เป็น "ปีท่องเที่ยว วิถีไทยเก๋ไก๋อย่างยั่งยืน" หรือ Amazing Thailand Tourism Year 2018 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.60-1 ม.ค.62 นิยามสินค้าท่องเที่ยวไทยเป็น Million Shades of Thailand อีกทั้งยังสนับสนุนให้มีการกระจายรายได้สู่ภูมิภาคต่างๆ โดยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองให้เชื่อมโยงกับเมืองหลัก (12 เมืองต้องห้าม…พลาด และ 12 เมืองต้องห้าม…พลาด พลัส) รวมถึงมาตรการลดหย่อนภาษีกระตุ้นท่องเที่ยว 55 จังหวัดเมืองรองระหว่าง 1 ม.ค.– 31 ธ.ค.61

ในส่วนของสถานการณ์การท่องเที่ยวในไตรมาสที่ 1 คาดจะได้รับประโยชน์จากฤดูกาลท่องเที่ยว อาทิ วันขึ้นปีใหม่ และวันตรุษจีน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนจานวนนักท่องเที่ยวให้เติบโตขึ้น ส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมการบินและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามความผันผวนของสถานการณ์การเมืองของโลกยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระทบการเติบโตของเศรษฐกิจไทย

ทั้งนี้ ในเดือนม.ค.61 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีนี้เติบโตอยู่ที่ 3.9% สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ 3.7% แม้คาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะเติบโต อย่างไรก็ตามแนวโน้มการฟื้นตัวในระยะต่อไปยังมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้นเพื่อรับมือกับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท บริษัทจึงได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่อาจส่งผลให้บริษัทไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ และหาแนวทางป้องกันความเสี่ยง ได้แก่ ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีแผนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ทั้งนี้ บริษัทอาจต้องก่อภาระหนี้เพิ่มอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต เพื่อระดมทุนในการจัดซื้อเครื่องบิน และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนขยายธุรกิจ การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยมีผลให้ต้นทุนการกู้ยืมในอนาคตของบริษัทเพิ่มขึ้น ดังนั้นบริษัทจึงมีมาตรการลดความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยโดยกาหนดอัตราดอกเบี้ยบางส่วนเป็นอัตราคงที่ในกระบวนการเจรจาสัญญาเช่าทางการเงินและพิจารณานาเครื่องมือทางการเงินมาใช้ในเวลาที่เหมาะสม

ความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ บริษัทมีรายได้และค่าใช้จ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศหลายสกุลเงิน ดังนั้นบริษัทจึงทำการบริหารภายใต้นโยบายการบริหารความเสี่ยงแบบธรรมชาติ (Natural Hedging) คือ จัดการให้รายจ่ายอยู่ในสกุลเงินเดียวกับรายรับให้มากที่สุด นอกจากนี้โครงสร้างเงินกู้ในสกุลเงินต่างๆ จะถูกปรับให้สอดคล้องกับสกุลเงินของเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน (Net Operating Cash Flow) ทั้งนี้บริษัทได้นาเครื่องมือทางการเงินมาใช้ในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามความเหมาะสม

และความผันผวนจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก คาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้นแบบมีจำกัด ในขณะที่บริษัทมองว่าหลังจากที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) และผู้ผลิตนอกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (Non-OPEC) ได้ประชุมและมีมติขยายข้อตกลงปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันไปจนถึงสิ้นปี 61 และคาดว่าหากน้ำมันดิบยังคงซื้อขายอยู่ในราคาที่สูงขึ้นจะส่งผลให้ผู้ผลิตน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (Shale Oil) ในสหรัฐฯ กลับมาเดินหน้าผลิตน้ำมัน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ามันดิบโลก ดังนั้น เพื่อลดความผันผวนของต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิง บริษัทจึงมีนโยบายการป้องกันความเสี่ยงจากราคาน้ำมันอากาศยาน (Fuel Hedging) เพื่อชะลอผลกระทบของความผันผวน

สำหรับผลการดำเนินงานในปี 60 ไทยแอร์เอเชีย มีรายได้จากการขายและการให้บริการจำนวน 35,931.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น11% จากรายได้ในปี 59 ที่เท่ากับ 32,400.6 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น 15% มาอยู่ที่ 19.8 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่นั่งที่เพิ่มขึ้น 11% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้อัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 3 จุด จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ 87%

กำไรสุทธิมีจำนวน 2,687.8 ล้านบาท ลดลง 21% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นและอัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ามันเชื้อเพลิงเครื่องบินสำหรับเส้นทางบินในประเทศ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารเพิ่มขึ้นเล็กน้อยโดยส่วนใหญ่มาจากค่าใช้จ่ายพนักงาน

อย่างไรก็ตาม ไทยแอร์เอเชีย มีการรับรู้กาไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงสุทธิ 322 ล้านบาทเนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเปรียบเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ บริษัทบันทึกปรับปรุงรายการหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีในสิ้นสุดปี 60 ต่ากว่าในสิ้นสุดปี 59 เนื่องจากบริษัทได้ยกเลิกสัญญาเช่าทางการเงินของเครื่องบินเพียง 2 ลำ ขณะที่ในปี 59 บริษัทได้ยกเลิกสัญญาเช่าทางการเงินของเครื่องบิน 2 ลำ และเครื่องยนต์เครื่องบิน 2 เครื่อง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ