บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) หรือ ปตท.สผ.แจ้งการจัดทำประมาณการรายจ่ายสำหรับแผนการลงทุน 5 ปี (ปี 2562-2566) มีรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 16,105 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปี 62 คาดการณ์จะมีรายจ่ายรวมที่ 3,256 ล้านเหรียญ สหรัฐ และมีปริมาณขายปิโตรเลียมที่ 3.18 แสนบาร์เรล/วัน โดยประมาณการรายจ่ายและปริมาณการขายปิโตรเลียมดังกล่าว ยังไม่รวม ผลจากการที่ ปตท.สผ.ได้รับสิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจ G1/61 (แหล่งเอราวัณ) และ G2/61 (แหล่งบงกช) ใน ทะเลอ่าวไทย ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2561
หน่วย : ล้านเหรียญ สหรัฐฯ
ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 ปี 2566 ปี 2562-2566 รายจ่ายลงทุน (Capital Expenditure) 1,840 1,667 2,223 1,927 1,653 9,310 รายจ่ายดาเนินงาน (Operating Expenditure) 1,416 1,279 1,256 1,633 1,211 6,795 รายจ่ายรวมทั้งสิ้น (Total Expenditure) 3,256 2,946 3,479 3,560 2,864 16,105
จากแผนงานดังกล่าว ส่งผลให้ ปตท.สผ. คาดการณ์ตัวเลขประมาณการขายปิโตรเลียม เฉลี่ยต่อวันจากโครงการผลิต ปัจจุบัน ระหว่างปี 2562-2566 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
หน่วย :พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ต่อวัน
ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 ปี 2566 ปริมาณการขายปิโตรเลียมเฉลี่ย 318 325 326 280 235
สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2562 ปตท.สผ.ให้ความสำคัญกับแนวทางหลัก ดังนี้
1. การรักษาปริมาณการผลิตจากโครงการผลิตหลักที่สำคัญในประเทศไทยและสาธารณรัฐ-แห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) ซึ่งได้แก่ โครงการเอส 1 โครงการบงกช โครงการอาทิตย์ โครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย และโครงการซอติก้า โดยได้จัดสรร รายจ่ายลงทุนจำนวน 1,159 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าว
2. การเพิ่มปริมาณสำรองและปริมาณการผลิตในอนาคตด้วยการจัดสรรรายจ่ายลงทุนจำนวน 490 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อผลัก ดันโครงการที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา ได้แก่ โครงการโมซัมบิก โรวูมา ออฟชอร์ แอเรีย วัน โครงการแอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคซ โครงการเวียดนาม บี และ 48/95 และเวียดนาม 52/97 และโครงการคอนแทร็ค 4 (แหล่งอุบล) ไปสู่การตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (Final Investment Decision)
3. การเร่งกิจกรรมการสำรวจเพื่อค้นหาทรัพยากร (Contingent Resources) เพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาว โดย ได้จัดสรรรายจ่ายลงทุนจำนวน 191 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายในการเจาะหลุมสำรวจและประเมินผลสำหรับโครงการ สำรวจในเมียนมา และมาเลเซีย
นอกจาก ปตท.สผ. จะมุ่งเน้นดำเนินกลยุทธ์เพื่อบริหารต้นทุนการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ สร้างมูลค่าเพิ่มจากโครงการที่มี อยู่ในปัจจุบัน พร้อมเดินหน้ารักษาความต่อเนื่องในการผลิตก๊าซธรรมชาติ และมองหาโอกาสขยายการลงทุนในพื้นที่ที่มีศักยภาพอย่างต่อเนื่อง แล้ว ปตท.สผ. ยังให้ความสำคัญกับการปรับตัวเพื่อพร้อมรับมือกับสภาพการดำเนินธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่เปลี่ยนแปลงไป ผ่าน การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และศึกษาโอกาสการลงทุนในธุรกิจใหม่ อาทิ การต่อยอดการลงทุน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในสายธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (Gas Value Chain) และการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เป็นต้น เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของ ปตท.สผ.