INTERVIEW: AI-AIE เปิดใจในวันหุ้นสุดร้อนค้นอัพไซด์ไปต่อได้แค่ไหน?

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday May 6, 2021 10:48 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

หุ้นแม่และลูกที่กำลังถูกเฝ้าติดตามของนักลงทุนช่วงต้นปี 64 คือ บมจ.เอเชียน อินซูเลเตอร์ (AI) และ บมจ.เอไอ เอน เนอร์จี (AIE) หลังจากราคาหุ้นของ 2 บริษัทปรับตัวขึ้นมาอย่างร้อนแรง เป็นที่มาของการตั้งข้อสังเกตถึงแนวโน้มปัจจัยพื้นฐานในอนาคต ของ 2 บริษัทว่าจะสามารถรองรับและประคับประคองการฟื้นตัวของราคาหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างโดดเด่นในรอบนี้ได้หรือไม่ ??

*เปิดใจซีอีโอ AI ในวันที่ AIE หุ้นสุดร้อนแรง ผลงานพลิกเทิร์นอะราวด์

นายธนิตย์ ธารีรัตนาวิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอเชียน อินซูเลเตอร์ (AI) เปิดเผยกับ "อินโฟเควสท์" ว่า การปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นของ AI และ AIE ที่มีแรงซื้อและเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรงในช่วงต้นปีนี้ สะท้อนความเชื่อมั่นต่อปัจจัยพื้นฐานของ บริษัทอย่างแท้จริง โดยเฉพาะบริษัทลูก คือ บมจ.เอไอ เอนเนอร์จี (AIE) กลับมาเทิร์นอะราวด์ชัดเจนตั้งแต่ปี 63 เมื่อภาครัฐปรับ เปลี่ยนสูตรน้ำมันไบโอดีเซลหนุนผลประกอบการกลับมาเติบโตมาก

"ราคาหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนของผู้บริหารก็ไม่ได้กดดันอะไรกับการทำงาน เพราะมองว่าราคาหุ้นเริ่มสะท้อนปัจจัยพื้นฐาน ของบริษัท ซึ่งบริษัทดำเนินธุรกิจนี้มาตั้ง 40 ปีแล้วในรื่องของลูกถ้วยไฟฟ้า และเราก็ยังเป็นเบอร์หนึ่งของประเทศ ตั้งแต่เราเข้าตลาดหลัก ทรัพย์ฯมาก็ 17 ปีที่แล้ว เราก็จ่ายปันผลมาตลอด ยกเว้นปี 50 เพียงแค่ปีเดียว เราก็มีธุรกิจที่กำลังเติบโตชัดเจนนั้นคือ AIE แม้ว่าที่ผ่าน จะประสบกับภาวะขาดทุน แต่สามารถกลับมาเทิร์นอะราวด์เมื่อปี 63 ทำให้บริษัทแม่ AI ได้รับประโยชน์จากการเติบโตอย่างมากในครั้งนี้ ด้วย"นายธนิตย์ กล่าว

อนึ่ง หุ้น AI และ AIE ถูกพักการซื้อขายไปเป็นระยะเวลา 3 ปีก่อนกลับเข้ามาซื้อขายตามปกติในช่วงปี 62 เป็นผลมาจาก การมีการลงบัญชีผิดพลาดของ AIE หลังจากนั้นบริษัทก็ได้ทำการปรับปรุงใหม่จนเรียบร้อย โดยการดำเนินกิจการต่างๆของบริษัทยังดำเนิน ไปตามปกติตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ถูกพักการซื้อขายไป

*จ่อเข็น AIE เข้า SET ไตรมาส 2/64 ชูกองทุนสนใจถือหุ้น,วางเป้ารายได้โต 10%, AIE-W2 เทรดปลาย พ.ค.

นายธนิตย์ กล่าวเพิ่มว่า บริษัทเตรียมย้ายหุ้น AIE เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในช่วงไตร มาส 2/64 เนื่องจาก AIE เริ่มมีความโดดเด่นการเติบโตของผลประกอบการ ส่งผลให้มีกองทุนต่างๆเข้ามาให้ความสนใจจำนวนมาก แต่ อย่างไรก็ตามยังคงมีข้อจำกัดของการลงทุนที่ไม่สามารถเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ได้ ขณะที่จุดยืนของกลุ่มผู้ถือหุ้น ใหญ่ตระกูล "ธารีรัตนาวิบูลย์" อาจจะเจรจาขายหุ้นลักษณะบิ๊กล็อตให้กับกองทุนที่มีความสนใจร่วมถือหุ้น AIE

สำหรับ AIE ปัจจุบันบริษัทแม่ AI ถือหุ้นสัดส่วน 61.77% ได้รับผลบวกจากกรณีที่กระทรวงพลังงานปรับนโยบายสัดส่วนการ ผสมไบโอดีเซลเป็น B7 และ B10 โดยปีนี้คาดว่ารายได้ปี 64 ของ AIE จะเติบโตจากปีก่อนราว 10% หรือมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท บนพื้นฐานที่ว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกที่สามนี้จะไม่หนักเหมือนกับ 2 ระลอกแรกที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะกระทบกับบริษัทไม่กระทบมากนัก

การเติบโตของ AI จะมาจาก 2 ส่วนคือ ส่วนแรก การผลิตไบโอดีเซลหลังจากปีนี้ยังคงมีความต้องการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะ ที่บริษัทหันมากลยุทธ์ที่ไม่เก็บสต็อกมากจนเกินไป หรือมีการเก็บสต็อกเพียง 30 วัน เพื่อที่จะไม่ให้เกิดการขาดทุนจากสต็อก เป็นการปรับ นโยบายจากก่อนหน้านี้บริษัทมีการสต็อกเป็นระยะเวลา 45 วัน และทำให้เกิดการขาดทุนจากสต็อก

ส่วนที่สองคือ ธุรกิจรีไฟน์กลีเซอรีน (Refined Glycerine) ที่มีอยู่ 2 ส่วนคือ 1.กลีเซอรีนสำหรับใช้ในการผลิตเครื่อง สำอาง ซึ่งที่ผ่านมาความต้องการมากขึ้นต่อเนื่องจากการที่นำไปใช้ผสมเจลล้างมือ และ 2.กลีเซอรีนสำหรับใช้ในการผลิตแคปซูลยา

ในส่วนของการใช้กำลังการผลิตของรีไฟน์กลีเซอรีนในปี 63 บริษัทใช้กำลังการผลิตไปเพียง 50% เนื่องจากการขาดแคลน ของกลีเซอรีนครูดที่มีป้อนให้เพียง 70 ตันต่อวัน ขณะที่เครื่องจักรของบริษัทสามารถรองรับได้ถึง 100 ตันต่อวัน หากต้องการที่จะใช้กำลัง การผลิตรีไฟน์กลีเซอรีนให้เต็มกำลังการผลิตจะต้องนำเข้ากลีเซอรีนครูดจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งหากไม่เกิดปัญหาเหมือน ในปี 63 ที่ผ่านมาเกี่ยวกับการขนส่งขนทางทะเล การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ บริษัทก็จะมีการนำเข้ากลีเซอรีนครูดเพื่อเข้ามาผลิตผลิตได้ อย่างต่อเนื่อง

"ความต้องการใช้ไบโอดีเซลอาจจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 บ้าง แต่อย่างไรก็ตามหาก สถานการณ์ต่างๆ คลี่คลายไปในทิศทางที่ปรับตัวดีขึ้น ภาพรวมเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวความต้องการใช้ไบโอดีเซลก็จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง โดยในปีนี้คาดว่ามาร์จิ้นมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเราสามารถควบคุมต้นทุนการกลั่นได้ ยิ่งมีต้นทุนต่ำเท่าไหร่เราก็ยิ่งมีมาร์ จิ้นสูงขึ้น และเน้นการบริหารสต๊อกที่มีศักยภาพด้วย"นายธนิตย์ กล่าว

นอกจากนี้ AIE มีการปันผลในอัตรา 0.05 บาทต่อหุ้น และยังได้ออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน ของบริษัท ครั้งที่ 2 (AIE-W2) ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น คาดว่าจะเข้าซื้อขายในกระดานได้ช่วงปลายเดือน พ.ค.นี้ โดยมี รายละเอียดการใช้สิทธิแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิได้ทุกๆ 6 เดือน ในราคา 0.25 บาท

"การออก AIE-W2 เพื่อที่จะเป็นการทดแทนให้กับนักลงทุน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ AIE ถูกพักการซื้อขายไปเป็นระยะเวลา 3 ปี และได้มีการออก AIE-W1 ออกมาแต่ไม่ได้มีการซื้อขายเลย จนถึงระยะเวลาการใช้สิทธิแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิก็ยังมีผู้มาใช้สิทธิ มากกว่า 90% การออก AIE-W2 จึงเป็นการทดแทนให้กับนักลงทุน"นายธนิตย์ กล่าว

*AI ลุยประมูลงานใหม่ 2.6 พันลบ.นอกเหนือจากอัพไซด์บริษัทลูก

นายธนิตย์ ยังกล่าวถึงภาพรวมการดำเนินกิจการของบริษัท AI ซึ่งเป็นผู้ประกอบการด้านการผลิตและจำหน่ายลูกถ้วยไฟฟ้า ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนตลาดภายในประเทศอยู่ราว 50% ของตลาดรวม แม้ว่าในปี 64 ทิศทางยอดขายจะ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 63 แต่ยืนยันว่าจะรักษาระดับการทำอัตรากำไรขั้นต้นได้ใกล้เคียงกับปีก่อน เป็นผลบวกจากการปรับ กลยุทธ์ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาบริษัทปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนลง คือปรับมาใช้พลังงานจากก๊าซ NGV จากเดิมใช้ก๊าซ LPG ส่ง ผลให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้ราว 20%

ต่อมาคือการใช้พื้นที่หลังคาโรงงานในการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป กำลังการผลิต 840 กิโลวัตต์ เพื้อที่จะใช้ในโรงงาน ช่วยลด ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าลงราว 30% ส่วนสุดท้ายคือการลดของเสีย จากปกติที่ 10-15% ซึ่งบริษัทได้พัฒนาให้ลดลงมาเหลือเพียง 2% เท่านั้น

ส่วนของการเข้าประมูลงานใหม่ทั้งจากการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ยังคงทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง โดย เฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง มูลค่าราว 2,600 ล้านบาท คาดหวังที่จะได้งานไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ขณะที่ปัจจุบันบริษัทมีคำสั่งซื้อล่วงหน้า (Backlog) ราว 500 ล้านบาทที่จะรับรู้รายได้เข้ามาในปีนี้ ขณะที่ใช้กำลังการผลิตอยู่ราว 90% ถือว่ายังมีกำลังการผลิตที่คงเหลืออีก ราว 10% ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนานวัตกรรมการเผาลูกถ้วยไฟฟ้าให้ใช้ระยะเวลาที่สั้นลง หากลดเวลาได้มากก็จะถือว่าเป็นการเพิ่ม กำลังการผลิตไปด้วย โดยไม่จำเป็นต้องการลงทุนมาก

ส่วนอีกหนึ่งบริษัทลูก AI Engineering ที่บริษัทถือหุ้นทั้งน 100% ประกอบกิจการด้านงานรับเหมาก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย ปักเสาพาดสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ปัจจุบันมีงานในมือ (Backlog) ราว 550 ล้านบาทที่จะสามารถก่อสร้างแล้วเสร็จและรับรู้รายได้ในปีนี้ทั้ง หมด

https://youtu.be/PSUTgVbILfE


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ