บมจ.เซนต์เมด (SMD) หนึ่งในหุ้นน้องใหม่ที่มีความโดดเด่นด้านโมเดลธุรกิจเติบโตตามความต้องการของอุตสาหกรรมการ แพทย์ในประเทศไทย ล่าสุดเตรียมเดินหน้าขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชนเป็นครั้งแรก (IPO) ในช่วงเดือน มิ.ย.64 และจะเข้าซื้อขาย ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
SMD จะเสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 54 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 25.23% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ บริษัท โดยมีบริษัท แคปปิตอล วัน พาร์ทเนอร์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน วัตถุประสงค์ของการระดมทุนเพื่อใช้ดำเนินโครงการศูนย์ ตรวจการนอนหลับ ลงทุนในเครื่องมือแพทย์ให้เช่า ส่วนที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และชำระคืนเงินกู้จากสถาบันการเงิน
นายวิโรจน์ วสุศุทธิกุลกานต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SMD เปิดเผยกับ "อินโฟเควสท์"ว่า บริษัทมีความมั่นใจในการเติบโต ในอนาคตของธุรกิจจากวิสัยทัศน์ในการมุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เฉพาะทาง โดยเฉพาะด้านระบบการ หายใจและช่วยชีวิต เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศด้านตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยนำประสบการณ์ความเชี่ยวชาญใน ธุรกิจมานานกว่า 20 ปี และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากลมาช่วยดูแลคนไทยให้ปลอดภัยและมีสุขภาพดี รองรับการเปลี่ยน แปลงวิถีชีวิตเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและสังคมแห่งการดูแลสุขภาพ
นอกจากนั้น บริษัทได้รับความไว้วางใจจากผู้ผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ชั้นนำระดับโลกกว่า 30 รายที่ช่วยให้ SMD มีขีดความสามารถการแข่งขันที่ดีเหนือคู่แข่งและสนับสนุนแผนงานการขยายผลิตภัณฑ์ใหม่รองรับฐานลูกค้าในอนาคต รวมถึงการแสวงหา โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ จากทีมบริการหลังการขายที่มีความชำนาญและความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ต่อยอดสู่การดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างการเติบ โตอย่างยั่งยืน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การให้บริการให้เช่าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อสร้างรายได้ประจำ และการร่วม มือกับโรงพยาบาลชั้นนำหลายแห่ง ดำเนินโครงการศูนย์ตรวจการนอนหลับ เนื่องจากปัจจุบันคนไทยได้ตระหนักถึงอันตรายจากการนอนกรน และหยุดหายใจในขณะนอนหลับมากขึ้น
ปัจจุบันรายได้หลักของ SMD ถึง 75% ของรายได้รวม มาจากการขายและให้เช่าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือชีวิตและ เครื่องมือในห้อง ICU ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในห้อง ICU และห้องฉุกเฉิน ซึ่งมีสัดส่วนรายได้ที่ 40% และเครื่องมือช่วยหายใจ 35%
"ปัจจุบันภาพรวมอุตสาหกรรมการนำเข้าเครื่องมือทางการแพทย์มีมูลค่าประมาณ 60,000 ล้านบาท หากย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่าน มามีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 6.5% ต่อปี ส่วนปี 63 ข้อมูลที่เป็นทางการยังไม่มีการรายงานออกมา แต่คาดว่าจะเติบโตมากกว่าค่าเฉลี่ย 6.5% เนื่องจากมีความต้องการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในสินค้าที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริษัทที่เป็นเครื่องช่วยหายใจและ ช่วยชีวิต ปัจจุบันประเทศไทยมีเตียง ICU อยู่ที่ประมาณ 10,000 เตียง แต่ความต้องการที่แท้จริงคือ 20,000 เตียงเป็นการสะท้อนว่า ความต้องการที่จะเข้ามาเพิ่ม คาดว่าจะเห็นดีมานด์เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 40,000 ล้านบาทภายใน 5 ปีข้างหน้า"นายวิโรจน์ กล่าว
นายวิโรจน์ กล่าวต่อว่า แม้ว่ากลุ่มลูกค้าในปัจจุบันจะมีสัดส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากที่โควิด-19 เข้ามากระทบ ส่งผลให้ กลุ่มลูกค้าที่เป็นโรงพยาบาลและหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้นมาเป็น 70% จากก่อนหน้าที่ 40% ส่วนลูกค้าโรงพยาบาลเอกชน นิติบุคคล และ บุคคลทั่วไป ลดลงเหลือ 30% จากเดิมอยู่ที่กว่า 40% เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนชะลอการลงทุนในระยะนี้ ขณะที่โรงพยาบาลรัฐและ หน่วยงานภาครัฐมีงบประมาณที่ต้องใช้ประจำปีอยู่แล้ว จึงเข้ามาชดเชยรายได้ของกลุ่มลูกค้าโรงพยาบาลเอกชนที่หายไปได้
อย่างไรก็ตาม รายได้ของบริษัทส่วนใหญ่ยังคงมาจากรายได้จากการขายในสัดส่วนที่มากถึง 97% ของรายได้รวม และรายได้ จากการบริการอยู่ที่ 3% ของรายได้รวม โดยที่บริษัทยังมองไปถึงการเพิ่มสัดส่วนรายได้ของการบริการให้มากขึ้นในอนาคต ซึ่งจะเป็นราย ได้ประจำที่จะเข้ามารองรับการเติบโตที่แน่นอนให้กับบริษัท และทำให้บริษัทมีการกระจายความเสี่ยงของรายได้มากขึ้น
ทั้งนี้ เบื้องต้นปี 64 บริษัทจะใช้เงินลงทุนราว 100-150 ล้านบาท สำหรับเพิ่มเตียงตรวจการนอนหลับอีก 4 เตียง ใช้เงิน ลงทุนราว 25 ล้านบาท/เตียง และจะใช้เงินบางส่วนซื้อเครื่องมือแพทย์อื่นๆ เข้ามารองรับการบริการเพิ่มเติม โดยบริษัทยังคงเจรจากับ ลูกค้าทั้งโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนเพื่อขายและให้เช่าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมั่นใจว่าหลังจากเข้า ระดมในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) แล้วจะผลักดันให้บริษัทมีความสามารถและศักยภาพในการขยายธุรกิจสร้างการเติบโตใน ระยะยาวได้เพิ่มขึ้น
ขณะที่บริษัทตั้งเป้ารายได้ในช่วง 3 ปี (ปี 64-66) เติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปี ซึ่งยังคงเดินหน้าลงทุนขยายธุรกิจอย่างต่อ เนื่อง โดยเฉพาะในส่วนของการขยายเตียงสำหรับตรวจการนอนหลับ ซึ่งวางแผนขยาย 8 เตียง/ปีในช่วงปี 64-66 ซึ่งจะสร้างรายได้ให้ กับบริษัทได้มากขึ้น และเพิ่มเครื่องมือแพทย์เข้ามาให้บริการ เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น
อนึ่ง ผลการดำเนินงาน SMD ตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 61-63) บริษัทมีรายได้รวมเติบโตราว 14% ต่อปี และในปี 63 บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 660 ล้านบาท
https://youtu.be/Gf5ncraT894