บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานรวมของบริษัทและบริษัทย่อยในไตรมาส 1/65 ปรากฎผลขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทฯ จำนวน 1,617.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากขาดทนุสุทธิที่เป็นของบริษัท 581 ล้านบาท จากขาดทุนทางบัญชีจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 452 ล้านบาท รวมถึงการเพิ่มขึ้นของค่าเสื่อม ราคา ค่าตัดจำหน่าย และดอกเบี้ยจ่ายเพื่อสนับสนุนการขยายโครงข่าย 5G และการชำระค่าใบอนุญาตการใช้งานคลื่นความถี่
กลุ่มทรู มีรายได้รวม 35,138 ล้านบาทในไตรมาสแรกของปี 65 ค่อนข้างทรงตัว (ลดลงร้อยละ 0.8) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายได้จากการขายสินค้าเพิ่มขึ้นขณะที่รายได้จากการให้บริการอ่อนตัวลงซึ่งได้รับแรงกดดันจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมประกอบกับผลกระทบต่อเนื่องของโควิด-19 ทั้งนี้ มาตรการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพยังคงส่งผลดีอย่างต่อเนื่องทำให้EBITDA ทรงตัวที่ 14,074 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจยังคงกดดันกำลังซื้อและการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคประกอบกับการแข่งขันยังคงอยู่ในระดับที่สูงโดยเน้นการนำเสนอแพ็กเกจการใช้งานดาต้าแบบไม่จำกัด (unlimited data packages) ในระดับราคาต่ำกดดันรายได้จากการให้บริการและรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการ (ARPU) ในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในไตรมาส 1/65
- ทรูมูฟ เอช มีรายได้จากการให้บริการ 19,676 ล้านบาทในไตรมาส 1/65 โดยมีฐานผู้ใช้บริการ 5G ที่เติบโตสูงเป็น 2.6 ล้านราย ฐานลูกค้าที่เติบโตแข็งแกร่งนี้เป็นผลมาจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงข่าย 5G และการเพิ่มประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า สร้างมูลค่าเพิ่มทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเพลิดเพลินไปกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ การรับชมคอนเทนต์ 5G เสมือนจริงในรูปแบบ XR/VR ผ่านแพ็กเกจ True 5G Xclusive และการให้บริการสินเชื่อทางการเงินผ่านบริการ "True Pay Next" ที่ผนึกกำลังกับ Ascend Nano นอกจากนี้ยังได้ขยายระบบนิเวศ 5G ไปในอุตสาหกรรมพลังงานด้วยการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับบมจ. บี.กริมเพาเวอร์ (BGRIM) ในการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลเพื่อธุรกิจพลังงาน อันจะนำไปสู่การสร้างอาคารอัจฉริยะ (Smart Building) ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) และเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในอนาคต
ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี ทรูมูฟ เอช มีฐานผู้ใช้บริการรวม 32.6 ล้านรายแบ่งเป็นผู้ใช้บริการแบบรายเดือน 11.2 ล้านรายและผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน 21.4 ล้านราย
- ทรูออนไลน์มีจำนวนผู้ใช้บริการบรอดแบนด์เพิ่มสูงขึ้นกว่า 90,100 รายในไตรมาส 1/65 ขยายฐานผู้ใช้บริการรวมเป็นทั้งสิ้น 4.7 ล้านราย รายได้จากการให้บริการบรอดแบนด์อยู่ที่ 7,318 ล้านบาท การแข่งขันที่ยังคงสูงในตลาดมุ่งเน้นการให้ส่วนลดเพื่อดึงดูดลูกค้ากดดัน ARPU อย่างต่อเนื่อง
- ทรูวิชั่นส์มีรายได้จากการให้บริการ 2,378 ล้านบาท ท่ามกลางความนิยมในการรับชมสตรีมมิ่งคอนเทนต์ผ่านแพลตฟอร์ม OTT ที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การแพร่ระบาดของไวรัสโอมิครอนยังคงกระทบกับการจัดอีเว้นท์ต่าง ๆ ในช่วงไตรมาสแรกของปี แต่เห็นผลบวกจากการกลับมาสมัครใช้บริการทรูวิชั่นส์อย่างต่อเนื่องในกลุ่มโรงแรมและร้านอาหาร
ทรูวิชั่นส์จะมุ่งสร้างการเติบโตด้วย TrueVisions NOW บริการสตรีมมิ่งคอนเทนต์ที่ลูกค้าสามารถรับชมคอนเทนต์คุณภาพได้ทุกที่ทุกเวลา พร้อมการผนึกก ลังกับทรูไอดีแพลตฟอร์มดิจิทัล ในการนำเสนอคอนเทนต์คุณภาพสุดเอ็กซ์คลูซีฟโดยเฉพาะคอนเทนต์กีฬา ซีรีส์เอเชีย และคอนเทนต์ระดับโลกยอดนิยมอีกมากมาย รวมถึงจะมุ่งเพิ่มประสบการณ์การรับชมและใช้งานของลูกค้าผ่านแอปพลิเคชัน TrueVisions NOW ให้ดียิ่งขึ้น ตอบรับกับพฤติกรรมและไลฟ์ สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัลนี้
ทรูดิจิทัล กรุ๊ป สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์มและบริการดิจิทัลได้อย่างต่อเนื่อง โดยแพลตฟอร์มสื่อดิจิทัล ทรูไอดีมุ่งเน้นเพิ่มความหลากหลายด้านความบันเทิงด้วยคอนเทนต์กีฬาและซีรีส์จำนวนมาก ท ให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ทรูไอดีมีรายได้เติบโตถึงร้อยละ 86 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หนุนโดยจำนวนผู้ใช้งานรายเดือนกว่า 30 ล้านราย มียอดรับชมคอนเทนต์วีดิโอต่อเดือนโดยเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นเป็น 459 ล้านครั้ง และจำนวนการซื้อคอนเทนต์ด้านความบันเทิงเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 75เป็น 760,000 ครั้ง เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/64
นอกจากนี้ ลูกค้ากล่องทรูไอดีทีวี เติบโตต่อเนื่องเป็น 3.2 ล้านกล่องหรือเติบโตร้อยละ 34 จากความต้องการรับชมทีผ่านกล่อง OTT ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ได้เปิดตัวแอปพลิเคชันทรูไอดีส หรับผู้ใช้งานในต่างประเทศจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
สำหรับธุรกิจดิจิทัลโซลูชันมีรายได้ที่เติบโตสูงถึงร้อยละ 73 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/64 จากนวัตกรรมบ้านอัจฉริยะ (Smart Living) การเชื่อมต่ออัจฉริยะ (Connectivity)และตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) อีกทั้งยังขยายธุรกิจ Digital Guest Solution ได้อย่างต่อเนื่องด้วยบริการคิวอาร์โค้ดอัจฉริยะแก่ลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมการให้บริการ นอกจากนี้ ธุรกิจดิจิทัล เฮลท์ ได้เปลี่ยนชื่อและปรับโฉมแอปพลิเคชัน "ทรู เฮลท์" เป็นแอปพลิเคชัน "หมอดี" โดยมีจำนวนผู้ใช้งานรายเดือนเพิ่มสูงขึ้น 2 เท่าหลังจากการปรับโฉมใหม่นี้