ALL อ่วมขาดทุนด้อยค่าเงินมัดจำที่ดิน-เงินลงทุนบ.ร่วม เตรียมเข้าฟื้นฟูกิจการหลังขาดสภาพคล่องหนัก

ข่าวหุ้น-การเงิน Sunday October 15, 2023 16:08 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บมจ.ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ (ALL) ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือที่ บจ.234/2566 ฉบับลงวันที่ 28 กันยายน 2566 ให้ทางบริษัทชี้แจงภายในวันที่ 12 ตุลาคม 2566 นั้น

บริษัทขอเรียนชี้แจงข้อมูลในงบการเงินไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ดังนี้

1. ขาดทุนจากการยกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและการด้อยค่าของเงินมัดจำค่าที่ดินรวม 884 ล้านบาท

ตามที่บริษัทได้เคยมีผลขาดทุนจากการยกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในปี 2564 และปี 2565 จำนวน 100 ล้านบาท และ 101 ล้านบาท ตามลำดับ และบริษัทได้เคยเปิดเผยข้อมูลตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯสอบถามว่า บริษัทมีแนวทางและมาตรการเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โดยจะวางแผนการซื้อที่ดินและการวางมัดจำให้สอดคล้องกับสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท รวมทั้งติดตามสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจภายในประเทศและของโลกให้เท่าทัน และนำมาประกอบการพิจารณาอนุมัติในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้รอบคอบรัดกุมมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม หมายเหตุประกอบงบการเงินไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ข้อ 7 ปรากฎข้อมูลว่า ในระหว่างงวด 6 เดือน ปี 2566 บริษัทมีผลขาดทุนจากการยกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินมัดจำค่าที่ดินอีก 100 ล้านบาท และ 784 ล้านบาท ตามลำดับ

1.1 ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูล บริษัทชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับเงินมัดจำค่าที่ดินแต่ละโครงการ 1,536 ล้านบาท ประกอบด้วย

  • ที่ดินแปลงที่ 1 ราคาซื้อที่ดินจะซื้อจะขาย 696,800,000.00 บาท ทำสัญญา 20/01/2565 เงินมัดจำ 297,590,000.00 บาท
  • ที่ดินแปลงที่ 2 ราคาซื้อที่ดินจะซื้อจะขาย 1,169,175,000.00 บาท ทำสัญญา 02/03/2563 เงินมัดจำ 590,000,000.00 บาท
  • ที่ดินแปลงที่ 3 ราคาซื้อที่ดินจะซื้อจะขาย 174,000,000.00 บาท ทำสัญญา 20/07/2563 เงินมัดจำ 100,000,000.00 บาท
  • ที่ดินแปลงที่ 4 ราคาซื้อที่ดินจะซื้อจะขาย 1,536,246,0,000.00 บาท ทำสัญญา 24/01/2565 เงินมัดจำ 501,810,000.00 บาท
  • ที่ดินแปลงที่ 5 ราคาซื้อที่ดินจะซื้อจะขาย 139,365,600.00 บาท ทำสัญญา 29/11/2564 เงินมัดจำ 49,795,000.00 บาท

บริษัทได้เพิ่มเติมแนวทางและมาตรการเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โดยจะพิจารณาวางแผนการซื้อที่ดิน และการวางมัดจำให้สอดคล้องกับสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทและตลาดอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศ รวมทั้งต้องติดตามสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจภายในประเทศและของโลกให้เท่าทัน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาอนุมัติในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้รอบคอบรัดกุมมากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหายในลักษณะนี้ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

1.2 อธิบายเหตุผลที่บริษัทมีผลขาดทุนในลักษณะเดียวกันดังกล่าวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2564 การปรับปรุงนโยบายการวางเงินมัดจำค่าที่ดินที่ผ่านมา นอกจากนี้ บริษัทพิจารณาว่า เงินมัดจำในส่วนที่เหลือจะมีความเสี่ยงจากการยกเลิก หรือด้อยค่าอีกหรือไม่อย่างไร และบริษัทมีแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างไร รวมทั้งขอให้สรุปหลักเกณฑ์และข้อมูลประกอบการพิจารณาการบันทึกผลขาดทุนจากการด้อยค่าเงินมัดจำค่าที่ดินดังกล่าว

บริษัทขอเรียนชี้แจงข้อมูลว่า เงินมัดจำที่เหลือในงบการเงินมูลค่า 590 ล้านบาท กำหนดโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2569 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ผู้บริหารมีแผนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ และพยายามหาหาแหล่งเงินทุนมาโอนกรรมสิทธิ์ได้ภายในกำหนด

หลักเกณฑ์และข้อมูลประกอบการพิจารณาการบันทึกผลขาดทุนจากการด้อยค่าเงินมัดจำที่ดินดังกล่าว มาจากเงินมัดจำที่ดินที่จะถึงกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2566 ทั้งหมด ซึ่งจากสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัท ผู้บริหารคาดว่าจะไม่สามารถหาแหล่งเงินทุนมาโอนกรรมสิทธิ์ได้ทันกำหนด จึงตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าทั้งจำนวน

1.3 ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับความเหมาะสมของการยกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและการตั้งด้อยค่าเงินมัดจำค่าที่ดินว่า ได้ดำเนินการอย่างระมัดระวังเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทแล้วหรือไม่ อย่างไร

บริษัทขอเรียนชี้แจงว่า บริษัทอยู่ระหว่างการนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการตรวจสอบ โดยบริษัท จะรายงานความเห็นของคณะกรรมการภายในวันที่20 ตุลาคม 2566

1.4 บทบาทและการดำเนินการที่ผ่านมาของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการตรวจสอบในเรื่องแนวทางและมาตรการเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและการวางเงินมัดจำค่าที่ดินของบริษัท รวมถึงการติดตามให้บริษัทปฏิบัติตามแนวทางและมาตรการดังกล่าว สาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวติดต่อกันต่อเนื่อง การดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวอีก

บริษัทขอเรียนชี้แจงว่า บริษัทอยู่ระหว่างการนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการตรวจสอบ โดยบริษัทจะรายงานความเห็นของคณะกรรมการภายในวันที่ 20 ตุลาคม 2566

2. ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุนในการร่วมค้า 474 ล้านบาท

ตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 และ 9 ณ 30 มิถุนายน 2566 บริษัทมีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุนในการร่วมค้า 474 ล้านบาท โดยบริษัทมีเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่การร่วมค้าที่มีกำหนดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยภายในเดือนสิงหาคม 2565 ? มีนาคม 2568 อย่างไรก็ตาม โครงการของการร่วมค้าได้มีการหยุดชะงักชั่วคราว บริษัทจึงหยุดคิดดอกเบี้ยและจัดประเภทเงินให้กู้ยืมระยะยาวเป็นเงินลงทุนในการร่วมค้าทั้งจำนวน (ณ 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 707 ล้านบาท และ ณ 30 มิถุนายน 2566จ นวน 7 ล้านบาทตามลำดับ)

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลดังนี้

2.1 รายละเอียดของกิจการร่วมค้า เช่น ชื่อกิจการร่วมค้า ลักษณะโครงการ มูลค่าโครงการ สถานะการประกอบธุรกิจ ของแต่ละโครงการรวมถึงสาเหตุที่มีผลขาดทุน

บริษัทชี้แจงว่ามี 3 กิจการร่วมค้าได้แก่

1.บริษัท ออลล์ อินสไปร์-ฮูซิเออร์ สุขุมวิท 50 จำกัด พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายภายใต้ชื่อโครงการ "The Excel Hideaway Sukhumvit 50" มูลค่าโครงการ 735 ล้านบาท อยู่ระหว่างการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด

2.บริษัท เอเอชเจ เอกมัย จำกัด พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย มูลค่าโครงการ 4,996 ล้านบาท กำลังพัฒนาที่ดิน

3.บริษัท เอเจ เจริญนคร จำกัด พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย มูลค่าโครงการ 1,382 ล้านบาท กำลังพัฒนาที่ดิน

ทั้งนี้ บริษัทขอเรียนชี้แจงว่า บริษัทอยู่ในช่วงของการปรึกษาหารือกับบริษัทร่วมค้า เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป

ส่วน3 เงินให้กู้ยืมแก่การ่วมค้าที่ได้มีการพิจารณาตั้งด้อยค่าเป็นการให้กู้ยืมตามสัดส่วนหรือไม่ อย่างไร บริษัทขอเรียนชี้แจงดังนี้เงินให้กู้ยืมแก่การร่วมค้าถูกจัดประเภทเป็นเงินลงทุนในการร่วมค้า ตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 (TFRS 9) บริษัทจึงพิจารณาค่าเผื่อการด้อยค่าในส่วนของเงินลงทุนในการร่วมค้า โดยพิจารณาตามสินทรัพย์สุทธิของการร่วมค้า ณ สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เทียบกับมูลค่าเงินลงทุนในการร่วมค้า หากสินทรัพย์สุทธิต่ำกว่าเงินลงทุนในการร่วมค้า บริษัทจะบันทึกค่าเผื่อการด้อยค่าเพื่อให้สอดคล้องกับผลการดำเนินงานของการร่วมค้าในงบการเงินรวม

3. ขาดทุนจากการยุติข้อพิพาทจากการผิดสัญญากู้ยืม 294 ล้านบาท

ตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 13 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 บริษัทย่อยกู้เงินจากบุคคลภายนอก (เพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการและจ่ายคืนเงินกู้ยืมจากบริษัท) 160 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 14% กำหนดชำระภายใน 12 เดือน โดยโอนสิทธิการเช่าช่วงอาคารห้างสรรพสินค้าและอาคารพาณิชย์ของบริษัทย่อยเป็นหลักประกัน ต่อมาเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 บริษัทย่อยทำบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาทจากการผิดสัญญาเงินกู้ยืม โดยโอนหลักประกันเพื่อชำระหนี้และรับรู้ผลการขาดทุนจากการยุติข้อพิพาทดังกล่าว 294 ล้านบาท

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ชี้แจงข้อมูล ดังนี้

3.1 ชื่อบริษัทย่อย รายละเอียดหลักประกัน ประกอบด้วย มูลค่า ชื่อโครงการและที่ตั้งของหลักประกันและสาเหตุของการ ขาดทุนจากการยุติข้อพิพาท

บริษัทขอเรียนชี้แจงดังนี้เงินกู้ยืมบุคคลภายนอก ดังกล่าว เป็นการทำสัญญากู้ยืมจากบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นบุคคลโดยมีหลักประกัน เป็นสิทธิการเช่าฟอรัม ชื่อ โครงการ The New Forum ตั้งอยู่จังหวัดชลบุรี โดยสาเหตุเกิดจากบริษัทฯ ค้างชำระดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน

3.2 ผู้อนุมัติการทำบันทึกข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาท โดยเป็นการดำเนินการตามอำนาจอนุมัติหรือไม่ อย่างไร รวมถึงบริษัทมีการดำเนินการเพื่อบรรเทาความเสียหายก่อนตกลงระงับข้อพิพาทดังกล่าวหรือไม่อย่างไร เนื่องจากบริษัทมีผลขาดทุนจากการยุติข้อพิพาทอย่างมีนัยสำคัญ

บริษัทขอเรียนชี้แจงดังนี้เริ่มตั้งแต่บริษัทได้ทำสัญญาเช่าหลังจากนั้นเมื่อเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินบริษัทก็ได้ค้างค่าเช่ามาตลอดและได้รับหนังสือทวงถามจากทางผู้ให้เช่าเพื่อให้เขาชำระค่าเช่าหรือบอกเลิกสัญญาหลังจากนั้นบริษัทได้พยายามหาเงินมาชำระค่าเช่าที่ค้างไว้หลายครั้งซึ่งครั้งสุดท้ายก่อนทำบันทึกข้อตกลงฉบับนี้บริษัทก็ได้ค้างค่าเช่าเป็นจำนวน 4 เดือน

3.3 การพิจารณาและความเห็นของคณะกรรมการและคณะกรรมการตรวจสอบต่อการทำบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาทดังกล่าวว่า ได้ดำเนินการอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง อย่างไร เช่น ความสัมพันธ์ของกรรมการหรือผู้บริหารกับบุคคลภายนอกดังกล่าว การโอนหลักประกันที่มีมูลค่าเกินกว่ามูลหนี้จำนวนมาก

บริษัทขอเรียนชี้แจงว่า บริษัทอยู่ระหว่างการนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการตรวจสอบ โดยบริษัทจะรายงานความเห็นของคณะกรรมการภายในวันที่20 ตุลาคม 2566

4. คดีความและข้อพิพาทที่มีนัยสำคัญ ตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 20

  • คดีความ : ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 บริษัทและกรรมการบริษัทถูกฟ้องร้องจากบริษัทแห่งหนึ่งและบุคคลธรรมดารายหนึ่งจากการผิดสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหายทุนทรัพย์ 193 ล้านบาท จากการที่กรรมการของบริษัทท่านหนึ่งได้ทำสัญญาลงทุนในปี 2560 ในฐานะบริษัทเพียงผู้เดียว และผิดนัดชำระคืนเงินต้นและเงินผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญา รวมจำนวน 6.60 ล้านเหรียญสิงคโปร์
  • ข้อพิพาท : วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 Ground Property Pte. Ltd ซึ่งเป็นผู้ร่วมลงทุนของบริษัท เอจี ทองหล่อ 16 จeกัด (AG: การร่วมค้าที่บริษัทถือหุ้น 62%) ได่ยื่นคeเสนอข้อพิพาทต่อศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของ ไอซีซี เรียกร้องให้บริษัทจัดสรรเงินกู้ยืมในสัดส่วนของบริษัทจำนวน 565 ล้านบาท และให้บริษัทโอนกรรมสิทธิที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ AG ตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 บริษัทมีเงินรับล่วงหน้าค่าที่ดินจาก AG จำนวน 354 ล้านบาท โดยบริษัทยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญา ทั้งนี้ บริษัทได้เปิดเผยในงบการเงินว่า เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2562 บริษัทไดทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับ AG มูลค่า 886 ล้านบาท โดยต่อมามีการขยายระยะเวลาการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี เป็นภายในกันยายน 2564 ซึ่งฝ่ายบริหารของทั้งสองบริษัทได้มีการเจรจาขอขยายระยะเวลาการโอนกรรมสิทธิที่ดินดังกล่าว

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ชี้แจงข้อมูลดังนี้

4.1 สรุปสาระสำคัญและความคืบหน้าของคดีความและข้อพิพาทดังกล่าว โดยมีข้อมูลขั้นต่ำตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด รวมถึงมูลค่าประมาณการหนี้สินที่ได้บันทึกไว้ในงบการเงิน (ถ้ามี)

บริษัทขอเรียนชี้แจง ดังนี้ คดีความสัญญาเงินลงทุนฉบับดังกล่าว เดิมกรรมการบริษัทท่านหนึ่งได้มีการติดต่อกู้ยืมเพื่อนำเงินดังกล่าวมาลงทุนในฐานะส่วนตัวมาตั้งแต่ต้นโดยไม่เกี่ยวข้องกับ ALL แต่อย่างใด แต่เนื่องจากคู่สัญญามีความประสงค์จะให้ ALL เข้ามาเป็นคู่สัญญาด้วยซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวต้องมีการนำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติก่อน กรรมการบริษัทท่านหนึ่งจึงได้ลงนามในสัญญาในฐานะส่วนตัวไม่เกี่ยวกับ ALL และ ALL ไม่ได้รับเงินลงทุนดังกล่าวและไม่ได้นำเข้าเป็นทรัพย์สินของบริษัทแต่อย่างใด เพียงแต่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้มีการตกลงเพื่อแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อของคู่สัญญา ซึ่ง กรณีดังกล่าวเป็นเหตุให้ ALL ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 1 เพราะ ALL ยังมีชื่ออยู่ในสัญญา ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้ว ALL ไม่ได้เกี่ยวข้องการทำสัญญา Land Banking Investment Fund Agreement แต่อย่างใด

4.2 ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีความ: สรุปสาระสำคัญของสัญญาลงทุนในปี 2560 การผิดนัดชำระหนี้ ข้อเท็จจริง รวมถึงชื่อกรรมการที่ท สัญญาลงทุนในปี 2560 การทำสัญญาลงทุนในปี 2560 โดยกรรมการเพียงคนเดียว ดังกล่าว มีผลผูกพันต่อบริษัทหรือไม่ และมีผลกระทบต่อบริษัทอย่างไร การดำเนินการของบริษัทต่อคดีความนี้ ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทต่อการดำเนินการดังกล่าวว่าเป็นประโยชน์สูงสุดของบริษัทอย่างไร

บริษัทขอเรียนชี้แจงว่า ทางกรรมการ ได้มีการเจรจากับเจ้าหนี้ทั้งสองราย โดยในคดีดังกล่าว กรรมการและเจ้าหนี้ได้ตกลงทำสัญญายอมโดยกรรมการเป็นผู้รับผิดในหนี้เงินกู้ยืมแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งหมายความว่าบริษัทฯ จะไม่ต้องรับผิดใดๆ จากคดีที่ถูกฟ้องร้องดังกล่าว

4.3 ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อพิพาท: สรุปสาระสำคัญของข้อตกลงการร่วมทุนใน AG เหตุผลที่บริษัทไม่จัดสรรเงินให้กู้ยืมตามสัดส่วนและไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญา การใช้เงินที่ได้รับล่วงหน้าค่าที่ดินจำนวน 354 ล้านบาทสาเหตุที่นำไปสู่ข้อพิพาททั้งที่ได้มีการเจรจาระหว่างฝ่ายบริหารของทั้งสองบริษัท ความคืบหน้าของการดำเนินการเกี่ยวกับข้อพิพาท และผลกระทบต่อฐานะการเงินของบริษัท

บริษัทขอเรียนชี้แจง ดังนี้ ข้อพิพาทเดิม ALL ได้มีการเจรจาและหาแนวทางการยุติข้อพิพาทกับผู้ลงทุน (Ground Property PTE LTD) โดยสันติวิธี เพื่อกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับ เอ จี ทองหล่อ มาโดยตลอด แต่เนื่องจากผู้ลงทุนยุติการเจรจาและเลือกใช้วิธีการยุติข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ ใช้หัวข้อ 10.11 Dispute Resolution ใน Joint Venture Agreement dated as of 28th September, 2018 โดยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 Ground Property PTE LTD ในฐานะผู้เรียกร้อง (Claimant) ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อ ALL ในฐานะผู้ถูกเรียกร้อง (Respondent) เพื่อนำข้อพิพาทในสัญญาเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ

ปัจจุบันอยู่ระหว่าง ALL จัดหาทนายความที่เหมาะสม พร้อมจัดตรียมเอกสารและหลักฐานในการโต้แย้งสิทธิของ Ground Property PTE LTD ในขณะนี้จึงยังไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับ เอ จี ทองหล่อได้ เนื่องจากต้องรอให้ผลการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการในคดีนี้ มีคำวินิจฉัยชี้ขาดเสียก่อน

4.4 คดีความและข้อพิพาทข้างต้น สะท้อนถึงความเพียงพอของระบบควบคุมภายในหรือไม่ อย่างไร และแนวทางการปรับปรุงระบบควบคุมภายใน รวมถึงความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบต่อความเพียงพอของระบบคงบคุมภายในในปัจจุบันและแนวทางที่จะปรับปรุงเพิ่มเติม (ถ้ามี)

บริษัทขอเรียนชี้แจงว่า บริษัทจะเร่งดำเนินการปรึกษาแนวทางปรับปรุงระบบการควบคุมภายในกับทางคณะกรรมการตรวจสอบต่อไป

ทั้งนี้ ALL รายงานงบไตรมาส 2/66 มีผลขาดทุน 1,306.90 ล้านบาทเทียบกับไตรมาส 2/65 ที่มีผลขาดทุน 154.34 ล้านบาท

นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 14/2566 เมื่อวันพุธที่ 11 ตุลาคม 2566 รับทราบการลาออกของ นายธนากร ธนวริทธิ์จากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO : Chief Executive Officer) และตำแหน่งกรรมการบริษัททุกตำแหน่ง ตามมติและคำแนะนำของคณะกรรมการตรวจสอบ จากกรณีผู้สอบบัญชี รายงานหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 20 เรื่องคดีความและข้อพิพาทที่มีนัยสำคัญ กรณีที่บริษัทและกรรมการถูกฟ้องร้องจากบริษัทแห่งหนึ่ง และบุคคลธรรมดารายหนึ่ง จากการผิดสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหายทุนทรัพย์ 193 ล้านบาท จากการที่ กรรมการท่านหนึ่งของบริษัทได้ทำสัญญาลงทุนในปี 2560 ในฐานะบริษัทเพียงผู้เดียว

ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาตามหลักนโยบายการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance Policy) เห็นควรให้นายธนากร ธนวริทธิ์ ยุติบทบาทการเป็นกรรมการจนกว่าเรื่องดังกล่าวจะชัดเจน เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และความโปร่งใส โดยการ ลาออกดังกล่าว มีผลตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2566เป็นต้นไป


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ