NUSA เปิดข้อมูลจุดชนวน "ประเดช" เดือด! บอร์ดจ่อเทขายสินทรัพย์ ที่ดิน,หุ้น WEH-DEMCO

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday December 21, 2023 10:36 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บมจ.ณุศาศิริ (NUSA) เปิดเผยว่า ฝ่ายบริหารของบริษัทยังไม่ได้รับการแจ้งรายละเอียดของคดีที่ระบุว่ากรรมการบริษัทบาง รายถูกฟ้องร้องกรณีขายทรัพย์สินบริษัทฯ จากการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 12/2566 เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.66 และยังไม่ได้มีนัดหมาย สอบถามจากศาลยุติธรรมแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 7 ธ.ค.66 มีมติอนุมัติหลักการจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทจริงโดยมีเหตุผล ดังนี้

ข้อ 1 ปัจจุบันอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าบัญชีของบริษัทต่ำกว่า 40% ขณะที่ทรัพย์สินของบริษัทเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible Asset) โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งปกติจะมีระดับราคาปรับตัวสูงขึ้นในระยะยาว ที่ผ่านมาบริษัทไม่ได้มีการประเมินมูลค่า ทรัพย์สินในราคาตลาด เนื่องจากภาระภาษีจากการประเมินทรัพย์สินจะทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเงื่อนไขหุ้นกู้ของ บริษัทฯ

ข้อ 2 บริษัทมีหุ้นกู้ที่จัดเป็นหนี้สินหมุนเวียนประมาณ 1,000 ล้านบาท และหุ้นกู้ระยะยาวประมาณ 1,500 ล้านบาท ฝ่าย บริหารได้ติดตามภาวะตลาดการเงินอย่างใกล้ชิด พบว่านักลงทุนในตลาดหุ้นกู้มีความอ่อนไหวต่อข้อมูลข่าวสาร จึงเห็นควรจัดเตรียมสภาพ คล่องเพื่อรองรับความไม่แน่นอน นอกจากนั้นการขายทรัพย์สินใดๆ โดยปราศจากการวางแผนล่วงหน้า จะทำให้มีอำนาจต่อรองเรื่องราคา และเงื่อนไขการขายอย่างจำกัด

ข้อ 3 มติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯเมื่อวันที่ 7 ธ.ค.66 ประกอบไปด้วยหลักเกณฑ์พื้นฐาน คือ (1) ราคาจำหน่ายต้องไม่ ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี (2) การจำหน่ายทรัพย์สินต้องดำเนินการโดยเปิดเผย มีการเปรียบเทียบราคาเพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด (3) มูลค่า การจำหน่ายทรัพย์สินมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการำระหนี้ บริหารเงินทุนหมุนเวียน โดยจะไม่มีการนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายไปลงทุนใน สินทรัพย์ใหม่ หรือโครงการใหม่ (4) กรณีได้ผู้สนใจซื้อทรัพย์สิน ทางฝ่ายบริหารจะดำเนินการตามหลักเกณฑ์และกฏหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

ข้อ 4 ปัจจุบันบริษัทฯ มีขาดทุนสะสมประมาณ 3,400 ล้านบาท ซึ่งบางจำนวนจะหมดสิทธิประโยชน์ทางภาษีในปี 67 การ จำหน่ายทรัพย์สินในราคาที่สูงกว่ามูลค่าบัญชี จะทำให้บริษัทได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด

สำหรับรายละเอียดของทรัพย์สินที่ถูกระบุในวาระพิจารณาคณะกรรมการบริษัทรวมทั้งสิ้น 6 รายการ ดังนี้

1.ที่ดินอ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 5-2-71 ไร่ มูลค่าทางบัญชี 557,996,055 บาท อัตราส่วนการค้ำประกันหนี้สิน 0.32

2.ที่ดิน ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 75-2-31.8 ไร่ มูลค่าทางบัญชี 339,017,364 บาท อัตราส่วนการค้ำประกัน หนี้สิน 0.17

3.สนามกอล์ฟ มายโอโซน ต.วังไทร อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 362-1-62 ไร่ มูลค่าทางบัญชี 420,996,124 บาท อัตราส่วนการค้ำประกันหนี้สิน 0.22

4.เลเจนด์, ณุศามันนี่, ชีวานีพัทยา ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 273-3-77.1 ไร่ มูลค่าทางบัญชี 845,359,662 บาท อัตราส่วนการค้ำประกันหนี้สิน 2.45

5.หุ้น บริษัท วินด์ เอ็นเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง (WEH) 7,748,294 หุ้น มูลค่าทางบัญชี 3,373,374,759 บาท อัตราส่วนการค้ำ ประกันหนี้สิน 0.07

6.หุ้น บมจ. เด็มโก้ (DEMCO) 170,000,000 หุ้น มูลค่าทางบัญชี 856,534,967 บาท อัตราส่วนการค้ำประกันหนี้สิน 0.03

ทั้งนี้ ราคาประเมินจากบุคคลภายนอกของทรัพย์สินรายการลำดับที่ 4 มีมูลค่าประมาณ 5,105 ล้านบาท

NUSA ระบุอีกว่า ภาระหนี้สินโดยตรงของสินทรัพย์รายการต่างๆ ข้างต้น มียอดรวมประมาณ 2,672 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ประมาณ 47% ของยอดรวมภาระหนี้สินของบริษัท ฝ่ายบริหารประเมินค่าเฉลี่ยของการจำหน่ายสินทรัพย์เพื่อจัดการภาระหนี้สินทั้ง 6 รายการ เมื่อเทียบกับราคาตลาดของทรัพย์สินข้างต้นอยู่ที่ระดับประมาณ 35% สะท้อนถึงสถานะการเงินของบริษัทที่มีความมั่นคง เพราะมี ยอดรวมทรัพย์สินที่มีตัวตนสูงกว่าภาระหนี้สินโดยรวมอย่างมาก โดยในช่วงระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา บริษัทมีการเติบโตในยอดทรัพย์สิน ประมาณ 50% นอกจากนี้ฝ่ายบริหารสามารถบริหารจัดการหุ้นกู้ โดยไม่มีการผิดนัดชำระหนี้เลยแม้แต่ครั้งเดียว

ดังนั้น ข่าวที่ระบุว่ากรรมการบริษัทบางรายถูกฟ้องร้องกรณีขายทรัพย์สินบริษัทไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงดังที่ได้ชี้แจงข้างต้น

อนึ่ง เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.66 ศาลแพ่งรับฟ้องคดีที่นายประเดช กิตติอิสรานนท์ พร้อมพวกรวม 6 รายที่เป็นกรรมการ NUSA เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง NUSA และกรรมการที่เหลือ 7 คน นำโดยนายวิษณุ เทพเจริญ และขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติคณะกรรมการบริษัทจำหน่าย สินทรัพย์ของ NUSA มูลค่ารวมมากกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนสูงเกือบ 70% ของทรัพย์สินทั้งหมดของ NUSA ที่มีมูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท โดยไม่มีแผนรองรับที่ชัดเจน และสั่งห้ามไม่ให้กรรมการอนุมัติห้ขายทรัพย์สินทั้ง 6 รายการจนกว่าจะได้รับการพิจารณาอนุมัติ จากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเสียก่อน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ