บอร์ด STA อนุมัติเพิ่มทุนบ.ย่อย 200ลบ.ขยายธุรกิจทำสวนยางภาคเหนือ-อีสาน

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday August 4, 2010 18:43 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี(STA) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ วันนี้มีมติให้ลงทุนเพิ่มในบริษัท ศรีตรัง รับเบอร์ แอนด์ แพลนเทชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจทำสวนยางพารา และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรม ยางพารา อีก 200 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้บริษัทย่อยมีทุนจดทะเบียนเป็นจำนวน 500 ล้านบาท โดยจะมีการเรียกชำระเป็นคราวๆตาม ความจำเป็นและความคืบหน้าของโครงการ

บริษัทย่อยดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2550 มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรกที่ 100 ล้านบาท และได้มีการเพิ่มทุนตามความจำเป็นที่ ต้องใช้เงินทุนในโครงการสวนยางที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ณ ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนเป็นจำนวน 300 ล้านบาทมีที่ดินในโครงการทาง ภาคเหนือและภาคอีสานรวมกัน จำนวนประมาณ 6,440 ไร่ ปลูกยางพาราไปแล้วจำนวน 3,182 ไร่ แผนการดำเนินงานของบริษัท ย่อยมีความคืบหน้าด้วยดี จึงมีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินทุนในการดำเนินการเพิ่มเติมรวมถึงการขยายพื้นที่ในอนาคต

นอกจากนี้ ยังมีมติอนุมัติเปลี่ยนแปลงการค้ำประกันวงเงินกู้ และ/หรือการออก Standby Letter of Credit ให้แก่ บริษัทย่อย SRI TRANG USA INCORPORATION ซึ่งเป็นบริษัทจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้รับการ อนุมัติครั้งที่ 3/2553 เมื่อเดือนมีนาคม 2553 กำหนดให้อยู่ในวงเงิน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากผลการประชุมของคณะกรรมการบริษัทย่อยและฝ่ายจัดการเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมามีข้อสรุปว่า สภาวะ เศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ความต้องการของกลุ่มลูกค้ามียอดปริมาณการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นตามลำดับ อีกทั้งแนวโน้มของระดับราคายาง ยังคงอยู่ในระดับที่สูง ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับแผนการดำเนินงานในครึ่งปีหลัง บริษัทย่อยจึงเสนอให้มีการเตรียม เงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจ จึงขออนุมัติเปลี่ยนแปลงการค้ำประกันเงินกู้ และ/หรือการออก Standby Letter of Credit ให้แก่สถาบันการเงินท้องถิ่นเพื่อให้จัดสรรวงเงินกู้แก่บริษัทย่อยดังกล่าวในวงเงินไม่เกิน 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

พร้อมกันนั้น STA ยังชี้แจงผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันในปีก่อน โดยไตรมาสที่ 2/2553 บริษัทยังคงได้รับผลดีอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์ราคายางในตลาดโลกที่ปรับตัว สูงขึ้นทำสถิติสูงสุดในช่วงเดือนเมษายน จากการฟื้นตัวที่ชัดเจนของเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียตลอดจนถึงแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกส่งผลถึงตัวเลขความต้องการในกลุ่มยานยนต์ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส

ปัจจัยบวกอีกข้อหนึ่ง คือความกังวลของผู้บริโภคที่มีต่อปริมาณผลผลิตยางที่มีค่อนข้างจำกัดในช่วงหน้าแล้งที่ผ่านมา ในขณะ ที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่วางแผนการจำหน่ายอย่างระมัดระวัง ยอดจำหน่ายของบริษัทในไตรมาสนี้จึงปรับตัวสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2552 ที่ยังอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว

บริษัทมีปริมาณการขายรวมในไตรมาส 2/2553 จำนวน 212,236 ตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากไตรมาส 2/2552 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2553 มีรายได้จากการขายและบริการรวมเป็นเงิน 21,408 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 111 จากไตรมาส 2/2552 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2553 ราคายางปรับตัวสูงขึ้นอีกร้อยละ 13 เมื่อเทียบ กับไตรมาส 1/2553 และปรับตัวสูงแบบก้าวกระโดดถึงร้อยละ 105 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2552 ทำสถิติราคาสูงสุดใหม่ใน รอบกว่า 1 ปี

ราคาขายเฉลี่ยของบริษัทอยู่ที่ 3,000-3,700 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อตัน อ้างอิงราคาเฉลี่ยยางแท่ง TSR และยาง แผ่นรมควัน RSS ตลาด SICOM ไตรมาส 2/2553 อยู่ที่ 3,023 และ 3,733 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อตัน เทียบกับราคาเฉลี่ยไตร มาส 2/2552 อยู่ที่ 1,524 และ 1,664 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อตัน ตามลำดับ ราคายางใน SICOM ปรับตัวเพิ่มขึ้นแบบก้าว

ระดับอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นร้อยละ 7 หรือ 2.35 บาทต่อเหรียญสหรัฐอเมริกาเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2552 คือ จากระดับอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 34.68 แข็งค่าเป็น 32.33 บาทต่อเหรียญ บริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้นลดลงจากร้อยละ 8.2 เป็น ร้อยละ 7.6 แต่มูลค่ากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจาก 831 ล้านบาทเป็น 1,635 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 97 เมื่อเทียบกับปีก่อน เมื่อหักค่าใช้จ่ายขายบริหารรวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและรายได้อื่นเป็นจำนวนเงิน 278 ล้านบาท

บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน 1,357 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,025 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปีก่อน เมื่อรวมส่วนแบ่งผล กำไรในบริษัทร่วม 201 ล้านบาท หักต้นทุนทางการเงินสุทธิ 65 ล้านบาทแล้วบริษัทมีกำไรก่อนภาษีเงินได้ 1,493 ล้านบาท และมี กำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้ 1,395 ล้านบาท โดยมีกำไรต่อหุ้น 1.39 บาท(ราคาพาร์ 1 บาท)เปรียบเทียบกับปีก่อนมีกำไรสุทธิหลัง ภาษีเงินได้ 345 ล้านบาท มีกำไรต่อหุ้น 0.34 บาท

ภาพรวมครึ่งปีแรกบริษัทมีรายได้จากการขายและบริการรวม 40,580 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 114 หรือ 21,576 ล้านบาท มีปริมาณการขายรวม 423,365 ตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 หรือ 72,891 ตันเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 7.3 เป็นร้อยละ 7.8

บริษัทประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมากในวงจรธุรกิจ นับจากการสรรหาวัตถุดิบ การบริหารต้นทุนการผลิตและระดับราคา จำหน่ายส่งผลให้มีกำไรสุทธิในครึ่งปีแรก 2,495 ล้านบาทเป็นกำไรต่อหุ้น 2.49 บาท (ราคาพาร์ 1 บาท) เปรียบเทียบกับครึ่งปี แรกของปี2552 ที่มีกำไรสุทธิ 559 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.56 บาท


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ