"ถือเป็นโอกาสในการนำข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ นำร่องสู่แผนการดำเนินงานพัฒนาตลาดล่วงหน้าในระดับภูมิภาคเอเชียร่วมกัน การอำนวยความสะดวกการซื้อขายสัญญาระหว่างนักลงทุนทั้งสองประเทศ ตลอดจนการบูรณาการข้อมูลสินค้าที่ทั้งสองตลาดต่างมีจุดเด่นของสินค้าของตนเอง"นายประสาท กล่าว
สินค้าที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดในตลาดล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์เจิ้งโจวได้แก่ ฝ้าย (Cotton No.1:CF) ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายสูงเฉลี่ยถึงวันละกว่า 10,000 สัญญาต่อวัน ขณะที่สินค้าใน AFET ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดได้แก่ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 215 สัญญาต่อวัน
ทั้งนี้ AFET และ ZCE จะเรียนรู้ร่วมกันถึงระบบการซื้อขาย ศึกษาแนวทางการลดขั้นตอนความยุ่งยากกรณีนักลงทุนของตนเองต้องการซื้อขายข้ามตลาด รวมถึงการจัดอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสองตลาดได้อย่างแท้จริง
“AFET ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาตลาดสู่การเป็นศูนย์กลางการซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร รวมทั้งตระหนักถึงบทบาทที่สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการเป็นกลไกการสร้างเสถียรภาพของราคาและราคาอ้างอิงสินค้าสำหรับเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร โดยปัจจุบัน AFET มีสินค้าที่เปิดทำการซื้อขายอยู่ทั้งสิ้น 6 ประเภท ได้แก่ ข้าวขาว ข้าวหอมมะลิ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ยางแท่ง มันสำปะหลังเส้น และสับปะรดกระป๋องชิ้นคละ ซึ่งล้วนเป็นสินค้าส่งออกสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของโลก"นายประสาท กล่าว
ด้านนายฟาน ชาง ประธานตลาดล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์เจิ้งโจว (ZCE) กล่าวว่า การร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกันในวันนี้ โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างตลาดภายในภูมิภาคเอเชียด้วยกันนั้น ถือเป็นภารกิจหนึ่งของ ZCE เนื่องจากตระหนักถึงการสนับสนุนการพัฒนาตลาดล่วงหน้าอย่างบูรณาการ
“การเดินทางมาในครั้งนี้มีความประสงค์จะขอหารือและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง พร้อมทั้งมีความมั่นใจว่าทั้ง ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรไทย สมาชิกตลาด นักลงทุนทั้งไทยและจีน จะได้ประโยชน์จากความร่วมมือในครั้งนี้ เพราะเป็นที่ทราบดีว่า ผู้ซื้อชาวจีนเป็นผู้ซื้อรายใหญ่สำหรับสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกของไทยหลายชนิด ทั้ง ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง จึงเป็นโอกาสดียิ่งที่ตลาดของผู้ซื้อจะเดินทางมาเพื่อเข้าพบตลาดของผู้ขาย" นายชาง กล่าว