โดยขณะนี้มีความพยายามที่จะตีความว่าในช่วงสมัยประชุมวิสามัญ วุฒิสภาจะสามารถทำได้เฉพาะวารพที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจำนวน 2 เรื่องเท่านั้น คือ การแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) คนใหม่ และการสรรหากรรมการตุลาการศาลปกครอง แต่ถ้ามองกันแบบไม่มีอคติจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา 132(2)กำหนดวุฒิสภาแต่งตั้งบุคคลตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานและรองประธานวุฒิสภาก็เป็นตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญเช่นกัน ดังนั้นวุฒิสภาสามารถดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้
"การตีความรัฐธรรมนูญควรเป็นไปในลักษณะที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ซึ่งถ้าตีความว่าการแต่งตั้งประธานและรองประธานวุฒิสภาทำไม่ได้ เท่ากับว่าการกล่าวคำปฏิญาณตนของ ส.ว.เลือกตั้งชุดใหม่ก็ย่อมไม่สามารถกระได้เช่นกัน เพราะวาระการกล่าวคำปฏิญาณนั้นไม่ได้อยู่ในพระราชกฤษฎีกา แต่ในความเป็นจริงได้ดำเนินการไปแล้วโดยไม่มีใครเห็นว่าเป็นปัญหาแต่อย่างใด" นายสมชาย กล่าว
นายสมชาย กล่าวว่า ขณะเดียวกันเวลานี้ฝ่ายการเมืองได้พยายามเข้ามาแทรกแซงและกดดัน ส.ว.โดยเฉพาะ ส.ว.เลือกตั้งในเรื่องการเลือกตั้งประธานวุฒิสภา ซึ่งส่วนตัวมีความเป็นห่วงอย่างมาก จึงขอเรียกร้องการเลือกตั้งประธานวุฒิสภา ถือว่ามีความสำคัญมากและควรเป็นเรื่องที่วุฒิสภาควรต้องดำเนินการกันเองในทางการเมือง เพื่อให้ได้ประธานวุฒิสภาที่ทุกคนยอมรับ