โบรกเกอร์ กล่าวว่า ยังต้องติดตามปัจจัยภายในประเทศว่ามาตรการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ จะขับเคลื่อนและ ได้ผลดีแค่ไหน โดยจะเริ่มต้นจ่ายเงินชดเชยชาวสวนยางพารา 1,000 บาท/ไร่ ในวันที่ 15 พ.ย. และโครงการเงินช่วยเหลือ ดอกเบี้ยต่ำสำหรับส่งเสริมการจัดเก็บสต็อกและให้โรงงานแปรรูปวัตถุดิบยางพารา และการร่วมมือกันระหว่าง 3 ประเทศ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ ในการกำหนดราคาขายขั้นต่ำ
ปัจจัยต่างประเทศ นักลงทุนส่วนใหญ่รอดูผลการประชุม FOMC ในวันที่ 29-30 ต.ค. เพื่อพิจารณาว่าเศรษฐกิจสหรัฐ เริ่มฟื้นตัวแล้วหรือไม่ เนื่องจากเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายสำหรับมาตรการ QE โดยเมื่อคืนที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวบวก ยืนเหนือ 17,000 จุดได้อีกครั้ง ตอบรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและผลประกอบการภาคเอกชน ถึงแม้ว่ายอดสั่งซื้อสินค้าคงทน (Durable Good) ปรับตัวลดลงต่ำกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ และ วันที่ 31 ต.ค. มีการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น อาจจะติดตามถึงผลสรุปการใช้ นโยบาย Abe-nomic ว่า ได้ผลดีแค่ไหน หลังจากที่มีการปรับ sale tax ขึ้นมาจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น เพราะว่าปีนห้า 2558 ญี่ปุ่น จะมีการหารือถึงการปรับ sale tax อีกครั้ง จาก 8% เป็น 10%
ประเมินกรอบราคาวันพรุ่งนี้ แนวรับ 55 บาท/กก.แนวต้าน 60 บาท/กก.
ส่วนปริมาณสัญญาซื้อขายคงค้าง(Open Interest) อยู่ที่ 2,725 สัญญา เพิ่มขึ้น 6 สัญญา
ภาวะการซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3(RSS3) เดือน ราคาปิด ราคาปิด ปริมาณ ครั้งก่อน วันนี้ การซื้อขาย NOV 14 55.30 56.30 36 DEC 14 55.60 56.70 4 JAN 15 56.60 57.00 3 FEB 15 57.00 - 0 MAR 15 57.30 58.10 17 APR 15 57.80 58.50 7 MAY 15 57.95 58.95 145 รวม 212