นายธนเสฎฐ์ ดีประเสริฐกุล นักวิเคราะห์จากบริษัท ดีเอส ฟิวเจอร์ส จำกัด เปิดเผยว่า ราคายางพาราตลาด AFET ยังเคลื่อนไหวในกรอบ แต่ค่อนข้างซึมลง อาจจะเป็นเพราะนักลงทุนที่ไม่มีสถานะรอการควบรวมระหว่าง AFET และ TFEX ในวันที่ 18 ม.ค. ขณะที่ TOCOM&SHFE นั้นไม่มีสัญญาณกลับตัวที่ชัดเจน ค่อนข้างจะเป็น Sideway Down มากกว่า
"SHFE นั้นมีแรงกดดันจากสต็อกยางจีนและดัชนี PMI ภาคการผลิตที่ยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นมาเหนือ 50 จุดได้ โดย สะท้อนถึงภาคอุตสาหกรรมที่ยังชะลอตัว"
ส่วนที่ทางการจีนจะอัดฉีดเงินเข้าระบบนั้น มุมมองส่วนตัวมองว่าจะช่วยเหลือตลาดเงินและตลาดทุนเป็นหลัก ทำให้ Flow ของหยวนมากขึ้น ค่าเงินหยวนจะอ่อนค่าขึ้น ส่วน TOCOM นั้น มีแรงกดดันจากค่าเงินเยนที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นหลัก
ส่วนราคา WTI ที่จะส่งผลบวกต่อราคายางพาราได้นั้น อย่างน้อยๆต้องกลับมายืนเหนือ 40 เหรียญต่อบาร์เรลให้ได้ ก่อน แล้วค่อยมาพิจารณาปัจจัยอื่นๆที่อาจจะส่งผลบวกและลบต่อราคายาง ในช่วงเวลานั้นๆ ว่ามีอะไรเพิ่มเติมหรือไม่
ราคายาง AFET ยังคงมีแนวต้าน 52/50/48 บาท แนวรับ 45/44/42 บาท
ส่วนปริมาณสัญญาซื้อขายคงค้าง(Open Interest) อยู่ที่ 1,703 สัญญา ลดลง 6 สัญญา
ภาวะการซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3(RSS3) เดือน ราคาปิด ราคาปิด ปริมาณ ครั้งก่อน วันนี้ การซื้อขาย FEB 16 41.00 40.80 54 MAR 16 42.00 41.50 7 APR 16 44.00 43.35 2 MAY 16 45.00 44.50 14 JUN 16 45.00 44.50 3 JUL 16 45.50 45.50 17 AUG 16 45.50 45.10 3 รวม 100