มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส เผยเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่อยู่ในภาวะเปราะบางมากยิ่งขึ้น จากปัจจัยที่สร้างความผันผวนในต่างประเทศ เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีหนี้สินสะสมเพิ่มขึ้นมาเป็นเวลานานถึง 10 ปี โดยประเทศตลาดเกิดใหม่ในยุโรปเป็นประเทศที่เปราะบางมากที่สุดในภูมิภาค เผย 6 ประเทศที่มีหนี้ต่างประเทศต่ออัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่สูงกว่า 100%
หนี้สินในต่างประเทศและตลาดเกิดใหม่ ซึ่งนิยามจากหนี้ของประชาชนในประเทศต่อประชาชนที่ไม่ใช่พลเรือนนั้น เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า จากระดับ 3 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2558 สู่ระดับ 8.2 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นปี 2558 โดยปัจจุบันหนี้เหล่านี้ขยายตัวเร็วกว่าจีดีพี และเร็วกว่าทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของประเทศเหล่านี้หลายๆประเทศ
หนี้ที่สูงขึ้นนี้ถูกแรงกดดันจากการขยายตัวของหนี้ภาคเอกชนมากกว่าที่จะเป็นหนี้สาธารณะ นับตั้งแต่ปี 2548 หนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนนั้นขยายตัว 14.3% ต่อปี เมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวของหนี้ภาคสาธารณะที่ 5.9%
รายงานที่มีชื่อว่า "The Evolution of Emerging Markets External Debt: Private Sector Debt Drives Broad-Based Build-Up of Emerging Markets External Vulnerability Risks" ที่ได้มีการเผยแพร่ในวันนี้ ได้วิเคราะห์การขยายตัวของหนี้สินในระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่และตลาดชั้นนำ จำนวน 83 ประเทศ โดยแบ่งเป็น 4 ภูมิภาค ได้แก่ เอเชีย แปซิฟิค, ละตินอเมริกาและแคริบเบียน ตะวันออกกลางและแอฟริกา และยุโรปเกิดใหม่
โดยในประเทศยุโรปเกิดใหม่นั้น ประเทศที่มีหนี้สินต่างประเทศที่ขยายตัวสูงมากที่สุดได้แก่ ตุรกี โดยอัตราหนี้ต่างประเทศต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 55% ในปี 2548 จากระดับ 41% ในปี 2548 และคิดเป็นสัดส่วน 19% ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดในภูมิภาค รองลงมาได้แก่ รัสเซีย
ระดับหนี้ของรัสเซียยังคงอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค โดยยูเครน, ฮังการี และโครเอเชีย เป็นหนึ่งในประเทศ 6 ประเทศในภูมิภาคที่อัตราหนี้ต่างประเทศต่อจีดีพีสูงกว่า 100%
ทั้งนี้ หนี้ต่างประเทศของรัสเซียปรับตัวลงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการระงับการค้าระหว่างประเทศภายหลังจากที่เกิดความขัดแย้งด้านทหารกับยูเครน ส่งผลให้อัตราหนี้ของรัสเซียในประเทศยุโรปเกิดใหม่ลดลงมาอยู่ที่ 24%