มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า แม้ว่าการคุมเข้มนโยบายทางการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อสภาพคล่องระยะสั้นของตลาดหุ้นชายขอบ (FMs) แต่การที่จีนจัดสรรทุนเข้าไปในประเทศกลุ่มนี้ จะช่วยบรรเทาความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
มูดี้ส์ ได้ให้คำนิยามสำหรับตลาดชายขอบว่า เป็นประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับที่ลงทุนได้ ซึ่งต้องพึ่งพาเงินทุนในลักษณะมีเงื่อนไขผ่อนปรน สำหรับประเทศเข้าข่ายตลาดชายขอบตามคำนิยามของมูดี้ส์มีทั้งสิ้น 36 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ B1 ถึง B3
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า "สถานการณ์สภาพคล่องโลกที่สดใส เปิดทางให้ตลาดชายขอบบางประเทศสามารถออกตราสารหนี้ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้เพิ่มขึ้นในอัตราผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจ และนับจนถึงเดือนส.ค. 2560 มี 1 ใน 4 ของตลาดชายขอบที่ออกตราสารหนี้งวดใหม่โดยกำหนดข้อพิจารณาด้านการค้า" นางแอน ฟาน ปรากห์ ผู้อำนวยการมูดีส์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่มีความเสี่ยงมากที่สุด คือ ประเทศที่แบกรับความเสี่ยงจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ตลอดจนประเทศที่มีความสามารถจำกัดในการดำเนินนโยบายการคลังภายในประเทศ มีความต้องการสินเชื่อมูลรวมที่สูง ในขณะที่สถาบันการเงินมีความแข็งแกร่งต่ำ โดยประเทศที่ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องรุนแรงที่สุดคืออียิปต์ ปากีสถาน และมองโกเลีย
"การจัดสรรทุนจากประเทศจีนโดยอาศัยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ตลอดจนการจัดวงเงินสำหรับธุรกรรม Swap ได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในตลาดชายขอบบางประเทศ โดยมีตลาดชายขอบ 16 ประเทศซึ่งมีชื่ออยู่ในโครงการ Belt and Road ของจีน และการลงทุนของจีนอาจช่วยบรรเทาความเสี่ยงสภาพคล่องในระยะเวลาอันใกล้นี้" รายงานของมูดี้ส์ระบุ