S&P Global Ratings ได้ปรับทบทวนแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยสู่ เชิงบวก จากเดิม มีเสถียรภาพ ขณะเดียวกัน S&P ยังได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในการออกตราสารหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศระยะยาวที่ 'BBB+' และระยะสั้นที่ 'A-2' รวมทั้งคงอันดับความน่าเชื่อถือสกุลเงินบาทระยะยาวที่ 'A-' และระยะสั้นที่ 'A-2'
S&P มองว่า การมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งตอบสนองความคิดเห็นของประชาชนมากกว่านั้น ถือเป็นการสนับสนุนเสถียรภาพทางการเมือง ขณะเดียวกัน S&P ระบุว่า เศรษฐกิจที่เปิดกว้างของไทยกำลังเผชิญกับแรงต้าน (headwinds) เนื่องจากความต้องการที่อ่อนแอในต่างประเทศ และเงินบาทที่แข็งค่า อย่างไรก็ดี ปัจจัยลบดังกล่าวได้รับการชดเชยด้วยตัวชี้วัดทางการคลังที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง
แนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือที่เป็นบวกยังสะท้อนการคาดการณ์ของ S&P ที่ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะฟื้นตัวขึ้นปานกลาง โดยได้แรงหนุนจากสถานการณ์ตึงเครียดทางการค้าที่คลี่คลายลง ขณะที่การขาดดุลงบประมาณจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย