สำนักงานระบุว่า เหตุผลสำคัญของ AIIB ก็เพื่อที่จะส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเอเชีย เนื่องจากธนาคารหวังที่จะผลักดันเงินทุนเบื้องต้นที่ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยปรารถนาที่จะให้เงินทุนดังกล่าวแตะระดับ 1 แสนล้นดอลลาร์เมื่อมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
บรรดาผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า AIIB จะช่วยเชื่อมช่องว่างของการระดมทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคเอเชีย
นางเบียทริซ เมเซอร์ หัวหน้าฝ่ายความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ กล่าวว่า "ในการระดมทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในภูมิภาคนั้น AIIB สามารถมีส่วนช่วยในการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และในการบรรเทาความยากจน"
สำนักงานกลางด้านกิจการทางเศรษฐกิจ การศึกษาและวิจัย (EAER) ระบุว่า "AIIB มีแนวโน้มที่จะเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างทางการเงินระหว่างประเทศ
สำหรับสวิตเซอร์แลนด์แล้ว ความเคลื่อนไหวที่เป็นบวกดังกล่าวมีความชัดเจน การมีส่วนร่วมที่อาจจะมีขึ้นในโครงการต่างๆของ AIIB เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับบริษัทสัญชาติสวิส
ประเด็นนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นจริงเป็นอย่างยิ่ง ขณะที่นางเมเซอร์ย้ำถึง "เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสวิตเซอร์แลนด์ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจพลังงาน ขนส่งและโทรคมนาคม รวมถึงการพัฒนาเขตเมืองและชนบท และด้านสิ่งแวดล้อม
ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างจีนและสวิตเซอร์แลนด์ได้มาถึงจุดสำคัญ
ข้อมูลจากสำนักงานกิจการระหว่างประเทศชี้ว่า จีนเป็นพันธมิตรด้านการค้ารายใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์มาตั้งแต่ปี 2553 โดยได้มีการลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีระดับทวิภาคีที่ปักกิ่งเมื่อเดือนก.ค. 2556 และมีผลบังคับใช้เมื่อปีที่แล้ว
ในปี 2558 จะเป็นปีที่ครบรอบ 65 ปีของความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่าง 2 ประเทศ
ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ AIIB นั้น สวิตเซอร์แลนด์มีพันธสัญญาทั้งในด้านการเงินและแนวคิด เพื่อจะสร้างความมั่นใจว่า AIIB จะสามารถดำเนินการตามเป้าหมายและโครงการต่างๆได้ตามคำมั่นสัญญาตั้งแต่เริ่มต้น
นางเมเซอร์กล่าวว่า ความเป็นไปได้เหล่านี้เกิดขึ้นจากประสบการณ์อันยาวนานของสวิตเซอร์แลนด์ในการช่วยเหลือด้านการพัฒนา ซึ่งสวิตเซอร์แลนด์ต้องการที่จะนำมาใช้ในกระบวนการขั้นพื้นฐาน
นอกจากนี้ สวิตเซอร์แลนด์ยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการรักษามาตรฐานสากลว่าด้วยธรรมาภิบาล รวมทั้งนโยบายด้านการดำเนินงานและป้องกัน
หัวหน้าฝ่ายความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หวังว่า "AIIB จะเป็นสถาบันการเงินระดับพหุภาคีที่แข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับระเบียบปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับสากลและมาตรฐานระหว่างประเทศ ตลอดจนมีส่วนสำคัญในการช่วยเติมเต็มช่องว่างด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในภูมิภาคดังกล่าว"
เมื่อวานนี้ ทางการจีนได้ประกาศรายชื่อสมาชิกประเทศผู้ก่อตั้ง AIIB ทั้ง 57 ประเทศ โดยมีประเทศในเอเชีย 37 ประเทศ ส่วนที่เหลืออีก 20 ประเทศอยู่ในทวีปยุโรป แอฟริกา และอเมริกาใต้
ประเทศดังกล่าวจะมีความรับผิดชอบพิเศษภายในสถาบันแห่งนี้ และจะมีส่วนร่วมในการร่างกฎเกณฑ์การบริหารจัดการกิจกรรมต่างๆของ AIIB
สำหรับประเทศสำคัญๆที่ไม่มีรายชื่อในกลุ่ม ได้แก่ สหรัฐ และญี่ปุ่น
สำนักข่าวซินหัวรายงาน