"ร่างกฎหมายชุดนี้เปิดช่องให้ญี่ปุ่นสามารถส่งกองกำลังความมั่นคงในขอบเขตกว้างกว่าที่รัฐธรรมมนูญกำหนด" ดิมิทรี สเตรซอฟ ผู้อำนวยการตะวันออกศึกษา สถาบันกิจการระหว่างประเทศแห่งรัฐมอสโควเปิดเผยกับสำนักข่าวซินหัวในสัมภาษณ์พิเศษ
นายสเตรซอฟเปิดเผยว่า ประกาศแรกซึ่งสำคัญที่สุด กองทัพของญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติภารกิจนอกประเทศ โดยไม่ได้รับภัยคุกคามอำนาจอธิปไตยหรือถูกโจมตีในดินแดนของญี่ปุ่นโดยตรง ขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนสะท้อนให้เห็นว่า ชาวญี่ปุ่นเกินครึ่งคัดค้านการยกเลิกวรรคที่เกี่ยวกับสันติภาพในรัฐธรรมนูญ
นักวิชาการผู้นี้ตั้งข้อสังเกตว่า ประชาชนญี่ปุ่นวิตกกังวลว่า กฎหมายดังกล่าวจะทำให้ญี่ปุ่นเข้าไปพัวพันกับความขัดแย้งจากการสู้รบที่ขัดกับเจตนารมณ์ของประชาชน เพราะผู้นำญี่ปุ่นอาจได้รับอำนาจในการตัดสินใจโดยไม่ต้องขอความเห็นจากประชาชน
นอกจากนี้ สเตรซอฟเชื่อว่า การใช้กฎหมายฉบับนี้จะไม่บั่นทอนความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่จะนำไปสู่เป้าหมายด้านนโยบายกลาโหมซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินการมาตลอด 25 ปี
เขาเสริมว่า ท่าทีดังกล่าวของญี่ปุ่นสะท้อนให้เห็นว่า ญี่ปุ่นค่อยๆเบี่ยงออกจากข้อกำหนดในการต่อต้านความรุนแรงที่รัฐธรรมนูญบังคับใช้ โดยสเตรซอฟได้หยิบยกเหตุการณ์ที่รัฐบาลญี่ปุ่นส่งกองกำลังทหารไปต่างประเทศ ตั้งฐานประจำการในต่างแดน และเสริมความร่วมมือทางทหารกับออสเตรเลีย อินเดีย สหรัฐ และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สเตรซอฟกล่าวทิ้งท้ายว่า การใช้มาตรการที่แข็งกร้าวของญี่ปุ่นสะท้อนว่า ญี่ปุ่นกำลังมุ่งหน้าสู่ดุลยภาพใหม่ในฐานะประเทศที่ไม่มีข้อจำกัดด้านการเสริมกำลังทหาร