นายติงกล่าวว่า การจัดตั้งประชาคมอาเซียนมีความสำคัญอย่างมากต่อโครงการ Belt and Road โดยเฉพาะเส้นทางสายไหมทางทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Maritime Silk Road) ที่จะมีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดเริ่มต้น
สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งมีสมาชิก 10 ประเทศ อยู่ระหว่างเตรียมที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับแผนการสร้างภูมิภาคทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางการเมืองและวัฒนธรรมทางสังคมร่วมกัน
ผู้เชี่ยวชาญรายนี้กล่าวว่า แนวคิดริเริ่มนี้จะส่งเสริมให้ประเทศอาเซียนและจีนมีความร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เนื่องจากการจัดตั้งประชาคมอาเซียนจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาเศรษฐกิจและระบบกฎหมายระหว่างประเทศสมาชิก และอำนวยความสะดวกในการร่วมมือกับประเทศคู่ค้า
นายติงเสริมว่า มีความเป็นไปได้อย่างมากสำหรับจีนและประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะร่วมมือกันในการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการค้าข้ามพรมแดน โดยกล่าวเพิ่มเติมว่าประชาคมจีนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการค้าอย่างคึกคัก ก็จะเป็นแรงสนับสนุนที่แข็งแกร่ง
โครงการ Belt and Road ที่นำเสนอโดยจีนเมื่อปี 2556 นับเป็นเครือข่ายการค้าและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โดยรวมถึ งเขตเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม และเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อเชื่อมโยงเอเชีย ยุโรปและแอฟริกาเข้าด้วยกัน
เขาเน้นย้ำว่า การค้าข้ามพรมแดนที่กำลังเฟื่องฟูจะทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่สมบูรณ์แบบสำหรับจีนที่จะผลักดันสกุลเงินหยวนสู่สากล ซึ่งจะเปิดโอกาสให้จีนและอาเซียนร่วมมือกันในด้านการเงิน
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM) ครั้งที่ 48 จะเปิดฉากขึ้นในวันพรุ่งนี้ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของรัฐมนตรีต่างประเทศและคณะผู้แทนจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงประเทศคู่ค้าของอาเซียนอย่างจีนและสหรัฐ โดยที่ประชุมจะมีการหารือกันในประเด็นการจัดตั้งประชาคมอาเซียนและวิสัยทัศน์หลังปี 2558 ของอาเซียน ตลอดจนประเด็นระดับภูมิภาคอื่นๆ
ทั้งนี้ อาเซียน ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 2510 นั้น ประกอบด้วย 10 ประเทศในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม