นายลอเรนซ์สัน รองผู้อำนวยการสถาบันความสัมพันธ์ออสเตรเลีย-จีนในสังกัดของ UTS ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวว่า ความผันผวนในตลาดหุ้นไม่นานมานี้ส่วนใหญ่เป็นผลจาก "การคาดคะเนซึ่งไม่ได้ส่งสัญญาณที่นอกเหนือกว่ารากฐานแต่อย่างใด"
เขากล่าวว่า "ภาคการผลิตยังคงเผชิญกับความท้าทาย ขณะที่ภาคบริการยังคงมีความยืดหยุ่น โดยตลอดทั้งปี 2558 ก็เป็นในทิศทางนี้"
นายลอเรนซ์สันมีทัศนคติที่ดีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจีนในอนาคต โดยเขาคาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนได้ขยายตัวเกือบ 7% ในปี 2558 ซึ่งถือว่าดีมาก เมื่อมองในแง่ของขนาด เขากล่าวว่า "ตราบเท่าที่การบริโภคภาคครัวเรือนและกิจกรรมภาคบริการยังดี ปี 2559 ก็น่าจะเป็นไปในทางที่ดีเหมือนกับปีที่ผ่านมา"
ในส่วนของแผนปฏิรูปเศรษฐกิจในจีน นายลอเรนซ์สันได้ยกให้ความชัดเจนในจุดมุ่งหมายของการปฏิรูปและความมุ่งมั่นของเป้าหมายการเติบโตเป็นจุดเด่น
"ผู้นำในหลายๆประเทศต่างลังเลที่จะตั้งเป้าหมายการเติบโตอย่างชัดเจน เนื่องจากกลัวว่าจะไม่สามารถบรรลุได้ แต่นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงนั้นกล้าที่จะตั้งเป้าหมายไว้ที่อย่างน้อย 6.5% ไปจนถึงปี 2563 ซึ่งช่วยก่อให้เกิดความคาดหวังและวัฒนธรรมการปฏิรูป เนื่องจากสถานภาพปัจจุบันไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายนี้"
การปฏิรูปภาวะอุปทานได้กลายเป็นคำที่ทางการจีนมักหยิบขึ้นมาเมื่อพูดถึงการส่งเสริมเศรษฐกิจนับตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดยนายลอเรนซ์สันเผยว่า การปฏิรูปอุปทานนั้นเป็นเรื่องของการยกระดับผลิตภาพ หรือทำให้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิต
การที่กลุ่มประเทศองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) หลายๆประเทศไม่มีการปฏิรูปอุปทานนั้น เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศเหล่านี้ต้องดิ้นรนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งนับตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเงินโลก
ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา เศรษฐกิจจีนได้อาศัยการส่งเสริมปัจจัยการผลิตเพื่อยกระดับผลผลิตเป็นหลัก ทั้งด้านแรงงานและทรัพยากรสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ออกมาแสดงความเห็นเมื่อไม่นานมานี้ว่าจีนไม่สามารถอาศัยโมเดลส่งเสริมเศรษฐกิจนี้ได้ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นอุปสงค์ จะส่งผลให้จีนบรรลุเป้าหมายดังกล่าว
"ความชัดเจนและความตรงไปตรงมาของการประเมินดังกล่าวสมควรได้รับการยกย่อง และหวังว่าทุกๆประเทศรวมถึงจีนจะประสบความสำเร็จในการปฏิรูปอุปทานเพื่อพยุงเศรษฐกิจโลกต่อไป"