นักวิเคราะห์การเมืองชาวฝรั่งเศสเผยการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสครั้งล่าสุดนี้บ่งชี้ถึงความอ่อนแอของพรรคการเมืองดั้งเดิมของประเทศ ซึ่งมีพรรคการเมืองหลักอยู่ 2 พรรค คือ พรรคโซเชียลลิสต์ และพรรครีพับลิกัน
โอลิเวียร์ รูควอง นักรัฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้แสดงความเห็นในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวก่อนหน้าที่การลงคะแนนเสียงรอบแรกจะเปิดฉากขึ้นในวันที่ 23 เม.ย. 2560
"เห็นได้ชัดเจนว่า ตัวเก็ง 2 รายอย่างนายเบนัวต์ อามอง และฟรองซัวส์ ฟิยง นั้น กระแสแผ่วลง และมีความเป็นไปได้น้อยที่ตัวเก็งหัวสังคมนิยมจะสามารถเข้าสู่ศึกเลือกตั้งรอบที่ 2 ได้ และตัวเก็งทั้ง 2 รายก็ไม่ใช่คู่แข่งกับตัวแทนพรรครีพับลิกัน" นายรูควอง กล่าว
ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นเช่นไร พรรครัฐบาลที่กระแสแผ่วเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่า การเมืองแบบเดิมๆของฝรั่งเศสได้รับความนิยมน้อยลง ส่งผลให้มีการคาดหวังถึงนักการเมืองหน้าใหม่ และระบบการเมืองใหม่ๆ
พรรคการเมืองฝั่งรัฐบาลที่ได้รับความนิยมน้อยลงในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนี้ อาจจะทำให้นางมารีน เลเปน ผู้สมัครที่ชูแนวคิดประชานิยม ได้เปรียบคู่แข่งจากพรรครีพับลิกันและโซเชียลลิสต์
ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ตามมา โดยเฉพาะในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติ นายรูควองกล่าวว่า อาจจะเกิดสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบที่หักมุมในสภานิติบัญญัติที่รัฐบาลอาจจะต้องทำตาม การปรับโครงสร้างเกมการเมืองก็จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา
นักวิเคราะห์รายนี้ยังระบุด้วยว่า ในกรณีของเสียงข้างมากในรัฐสภาที่ยังไม่มีความแน่นอน และไม่สอดคล้องกับเสียงข้างมากจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีอาจจะกลายเป็นคนกลางในการรับผิดชอบเรื่องความเป็นผึกแผ่นของรัฐบาล รวมทั้งการดูแลผู้แทนที่ไม่สังกัดพรรคมากขึ้น
สถานการณ์ดังกล่าวอาจจะนำไปสู่ช่วงเวลาของลัทธิรัฐบาลนิยมก็เป็นได้ และเวลาก็อาจจะกลายเป็นบทพิสูจน์ที่เห็นได้ว่า ลัทธิประธานาธิบดีนิยมไม่ได้เป้นทางออกของการสร้างประชาธิปไตยอีกต่อไป
นักรัฐศาสตร์รายนี้ยังได้อธิบายถึงพลังของฝ่ายขวาจัดที่ต้องการจะเปลี่ยนเกมการเมืองที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความไม่พอใจในหัวหน้าพรรคและพรรคการเมืองดั้งเดิม
นอกจากนี้ ยังมีองค์ประกอบที่ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความไม่พอใจที่ขยายวงออกไป ได้แก่ เรื่องเศรษฐกิจ สังคม และแม้แต่วัฒนธรรม ซึ่งช่วยหนุนผู้สมัครที่มีข้อเสนอที่เรียบง่ายแต่เข้าข่ายประชานิยม
สถานการณ์ที่แวดล้อมเหตุอื้อฉาวในด้านต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงการหาเสียงก็มีส่วนทำให้เกิดกระแสต้านฐานการเมืองแบบดั้งเดิม ส่งผลให้เกิดความคล้ายคลึงกันระหว่างกลุ่มการเมืองการทุจริตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นักวิเคราะห์รายนี้กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์ที่ตกเป็นข้อถกเถียงกันและนำไปสู่แรงผลักให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนในระดับสูงนี้ ประชาชนก็อาจจะไม่ใส่ใจและไว้ใจพรรคการเมืองขนาดใหญ่ และเกิดการเปลี่ยนใจ ซึ่งสื่อให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงและความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ