ในขณะที่ผู้นำประเทศอาเซียนและจีนเตรียมประชุมร่วมกันที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ในวันนี้ ผู้เชี่ยวชาญชาวกัมพูชามองว่า จีนเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่สำคัญด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและความมั่นคงของอาเซียน
แชง วานาริท นักวิชาการอาวุธของสถาบันความร่วมมือและสันติภาพของกัมพูชา กล่าวว่า จีนเป็นพันธมิตรด้านการค้าที่สำคัญอันดับต้นๆและยังเป็นนักลงทุนรายใหม่ของอาเซียน ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนเองก็ได้รับการยกระดับขึ้นจากการท่องเที่ยวและการเดินทาง การศึกษาและการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรม รวมทั้งการอพยพที่เกิดขึ้นภายในภูมิภาคเอง ข้อมูลจากอาเซียนชี้ให้เห็นว่า การค้าระดับทวิภาคีระหว่างอาเซียนและจีนนั้น ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 4.52 แสนล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จากจีนไปยังอาเซียนนั้น อยู่ที่ 9.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2559 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 9.5% ของยอด FDI ทั้งหมดในอาเซียน
สำหรับธุรกิจท่องเที่ยวนั้น จีนถือเป็นหนึ่งในแหล่งนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากที่สุดที่เดินทางมายังอาเซียน ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนกว่า 21 ล้านรายที่เดินทางเยือนอาเซียนในปีที่แล้ว สำหรับเรื่องความมั่นคงนั้น ความร่วมมือระหว่างอาเซียนและจีนเองก็ถือว่าได้มีการเสริมสร้างความแข็งแกร่งขึ้นมาก โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการคลี่คลายภัยพิบัติ
กลุ่มอาเซียน ประกอบด้วยประเทศบรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดยสำหรับบทบาทของจีนในความร่มมือของกลุ่มอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) นั้น นายวานาริท ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกิจการอาเซียน กล่าวว่า จีนเป็นพันธมิตรรายสำคัญของกรอบความร่วมมืออาเซียน+3 ในด้านการกระชับความสัมพันธ์ในภูมิภาค การเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
นักวิชาการรายนี้ ยังระบุด้วยว่า นวัตกรรมด้านสังคมและธรรมาภิบาลที่ครอบคลุมนั้นเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างแข็งแกร่ง เมื่อพิจารณาจากวิสัยทัศน์ในการสร้างชุมชนเอเชียตะวันออกที่ให้ความสำคัญกับประชาชน นายวานาริทยังชี้ด้วยว่า อนาคตของการผนวกรวมเอเชียตะวันออกนั้น ความสัมพันธ์ระดับไตรภาคีในกลุ่มจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการส่งเสริมการผนวกรวมระดับภูมิภาคในเอเชียตะวันออก สำหรับเรื่องหลักการทูตของจีนในเรื่องความเป็นมิตร ความจริงใจ ผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน และความครอบคลุมของความร่วมมือแบบวิน-วิน โดยจีนและอาเซียนต่างต้องใช้เวลาในการสร้างและดำเนินการเพื่อให้ปรากฎซึ่งภาพพจน์ซึ่งกันและกัน และความเข้าใจในหลักการ
นักวิชาการกล่าวด้วยว่า การเจรจาอย่างเปิดเผยและชัดเจนบ่อยครั้งในหลักกการต่างควรจะเป็นเรื่องที่ได้รับการส่งเสริม เมื่อกล่าวถึงความเป็นไปได้เรื่องความร่วมมือระหว่างจีนและกัมพูชาในการรับมือกับความท้าทายต่างๆจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงครั้งใหม่ นายวานาริท กล่าวว่า ทั้ง 2 ประเทศควรจะส่งเสริมให้มีการผนวกรวมในภูมิภาค และร่วมมือกันเพื่อชุมชนเอเชียตะวันออก โดยมุ่งให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง สำนักข่าวซินหัวรายงาน