นายจาง หมิง เอกอัคราชทูตจีนประจำสหภาพยุโรป (EU) กล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวว่า การประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำจีน และสหภาพยุโรป (EU) แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองฝ่ายในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อปกป้องแนวคิดเกี่ยวกับระบบพหุภาคีนิยม (multilateralism) ตลอดจนส่งเสริมเสถียรภาพด้านการพัฒนา และยกระดับเสถียรภาพของโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนอย่างมีนัยยะสำคัญ
"การประชุมสุดยอดครั้งนี้ได้เสริมสร้างเสถียรภาพด้านการพัฒนาและเสถียรภาพของความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหภาพยุโรป ทั้งยังกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยยกระดับเสถียรภาพของโลกที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย" นายจาง หมิง เอกอัครราชทูตจีนประจำสหภาพยุโรปกล่าว
ในการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำจีนและสหภาพยุโรป (EU) ครั้งที่ 20 ที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะการดำเนินงานร่วมกันเพื่อปกป้องรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยระหว่างประเทศ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ รวมถึงส่งเสริมแนวคิดพหุภาคีนิยมและสนับสนุนการค้าเสรี
การประชุมสุดยอดครั้งนี้จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง โดยมีนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน นายโดนัลด์ ทัสค์ ประธานคณะมนตรียุโรป และนายฌอง คล็อด ยุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เป็นประธานการประชุมร่วมกัน
นายจางระบุว่า จีนและสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นสองมหาอำนาจของโลก แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจนต่อหลักการการใช้กำลังฝ่ายเดียวและมาตรการการกีดกันทางการค้า รวมถึงยังปกป้องระบบการค้าพหุภาคีที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานกฎเกณฑ์และองค์กรการค้าโลก (WTO) เป็นหลัก ทั้งสองยังเห็นพ้องที่จะสร้างกลไกลสำหรับ WTO
"เราจำเป็นต้องปรับให้สอดคล้องกับความต้องการร่วมกันของประชาคมนานาชาติที่รักษาซึ่งกฎเกณฑ์ ตลอดจนแสดงความเปิดกว้าง และร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้น" เอกอัคราชทูตตัรกล่าว
"การประชุมครั้งนี้นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญที่สุดของการประชุมระหว่างผู้นำ และมุ่งเน้นความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหภาพยุโรป" นายจาง กล่าวเสริม
ตามความคิดเห็นของเขา ข้อตกลงดังกล่าวยังเผยให้เห็นถึงการคาดการณ์เกี่ยวกับความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างจีนและสหภาพยุโรป
ปีนี้เป็นปีครบรอบ 15 ปีแห่งการสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์รที่ครอบคลุมระหว่างจีนกับสหภาพยุโรป
ผู้นำของทั้งสองฝ่ายได้บรรลุความสำเร็จทั้งในด้านการค้า การลงทุน การทูต การเชื่อมต่อ และการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ขณะเดียวกันทั้งสองฝ่ายต่างเรียกร้องให้เกิดการส่งเสริมการเจรจาและการร่วมมือในหลายภาคส่วน รวมไปถึงด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน เศรษฐกิจหมุนเวียน นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา เศรษฐกิจดิจิทัล และมาตการความเป็นเมือง
นอกจากนี้ จีนและสภาพยุโรปให้คำมั่นที่จะร่วมเจรจาอย่างจริงจังในประเด็นการปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (IPR) และเสริมสร้างความร่วมมือในการคุ้มครอง IPR
ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงลึกต่อประเด็นความกังวลทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ
เมื่อกล่าวถึงถ้อยแถลงในประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศและพลังงานสะอาด นายจางเผยว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีความคิดที่จะรับผิดชอบเพื่อพัฒนาธรรมาภิบาลระดับโลก พร้อมระบุว่า ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องที่จะการดำเนินงานร่วมกันเพื่อปกป้องกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงพัฒนาการหารือด้านการทูตและนโยบายความปลอดภัยเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ
"การประชุมสุดยอดครั้งนี้เผยให้เห็นความต้องการร่วมกันระหว่างจีนและสภาพยุโรป ในการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างประเทศ" นางจางกล่าว