ก่อนจะถึงช่วงปิดการประชุมสภาคองเกรสและอภิปรายเรื่องบประมาณ ประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐได้เริ่มเดินหน้าแถลงสุนทรพจน์หาเสียงที่มุ่งเน้นการปฏิรูปและภาษี แต่ในขณะนี้เขาเผชิญความล้มเหลวในการโน้มน้าวพรรคคู่แข่งอย่างรีพับลิกันให้เกิดการเจรจาไกล่เกลี่ยกัน
*สุนทรพจน์หลักในการหาเสียงของโอบาม่า
ในการแถลงสุนทรพจน์ครั้งล่าสุดที่เมืองแชตทานูกาในรัฐเทนเนสซี สหรัฐ โอบามาเสนอนโยบายเพื่อช่วยผ่าทางตันภาวะชะงักงันทางการเมืองสหรัฐ ทำให้การปฏิรูปภาษีง่ายดายขึ้น และกระตุ้นการสร้างงานในสหรัฐซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
โอบามาผลักดันข้อเสนอด้านโยบายเพื่อหนุนชนชั้นกลางในสุนทรพจน์เมื่อเร็วๆนี้ และพยายามทำเรื่องนี้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้" นายอลัน ครูเกอร์ที่ปรึกษาสูงสุดด้านเศรษฐกิจของทำเนียบขาวเปิดเผยในวันจันที่งานเลี้ยงอาหารกลางวันในกรุงวอชิงตัน
อย่างไรก็ตาม สุนทรพจน์ครั้งนี้ไม่ต่างจากอื่นๆของเขาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่รัฐอิลลินอยส์ มิสซูรี และฟลอริด้า โดยโอบามายังคงไม่ส่งสัญญาณใหม่ๆมากเท่าใดนัก หากไม่รวมถึงเรื่อการย้ำลำดับความสำคัญของนโยบาย ซึ่งรวมถึงโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่เพิ่มขึ้นและการใช้จ่ายด้านการศึกษา ซึ่งกำหนดไว้ในการประกาศแถลงการณ์สภาวะแห่งชาติในเดือนก.พ.
วิลเลียม แกลสตัน สมาชิกอาวุโสและโคริน เดวิส ผู้จัดการโครงการของสถาบันถาบันบรูคคิงส์ระบุในบทความที่ร่วมกันเขียนว่า "โอบามาคิดถูกที่เรียกร้องให้การลงทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการยกระดับที่มีความจำเป็น และสภาคองเกรสควรพิจารณาร่างกฎหมายจำนวนมากที่เสนอให้ธนาคารสาธารณูปโภคพื้นฐานช่วยสนับสนุนต้นทุนเหล่านั้น สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มตำแหน่งงานที่ดีในปัจจุบันและทำให้อเมริกาเป็นชาติที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันในอนาคต"
"รายจ่ายภาครัฐถูกกดดันในระดับรัฐบาลกลางและระดับมลรัฐ แต่ถ้าละเลยการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐาน เราอาจจะกำลังบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันในอนาคตของเรา" ระบุ
*เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญมองว่าสุนทรพจน์ของโอบามามีเป้าหมายเพื่อให้เครดิตตัวเองจากการที่เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจากฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์แม้ว่าอัตราว่างงานยังเคลื่อนไหวในระดับสูงที่ 7.6%
"ในวันนี้ ธุรกิจของเราได้สร้างงานใหม่กว่า 7.2 ล้านตำแหน่งในรอบ 40 เดือนที่ผ่านมา ปีนี้เรามุ่งสู่การจ้างงานภาคเอกชนที่ขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2542 เราขายสินค้าที่ผลิตในอเมริกาไปยังพื้นที่อื่นๆของโลกได้เพิ่มขึ้นแบบที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน" โอบามากล่าววานนี้
ศาสตราจารย์เบนจามิน ฟรายด์แมน จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดกล่าวว่า การฟื้นตัวจากภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจซึ่งเกิดจากวิกฤตการเงินเมื่อเร็วๆนี้ อยู่ในระดับที่มีคนเคยคาดการณ์ไว้ อัตราว่างงานยังสูงผิดความคาดหมาย แต่ปริมาณการผลิตนั้นขยายตัวอย่างเต็มที่จากภาวะตกต่ำ และผลกำไรทั้งจากธุรกิจและตลาดหุ้นทำสถิติสูงสุด" ฟรายด์แมนตั้งข้อสังเกต "สำหรับ
"ด้านที่ขยายตัวรวดเร็วสุดคือการฟื้นตัวในการก่อสร้างบ้าน รวมถึงการผลิตและการขายรถยนต์ ที่แปลกคือสิ่งที่ถ่วงเศรษฐกิจมากที่สุดคือการหดตัวของรายจ่ายรัฐบาลและการขึ้นภาษี ช่วงที่จะถึงนี้ ผมคิดว่าเศรษฐกิจอาจได้ประโยชน์จากการขยายนโยบายทางการเงินอย่างต่อเนื่อง และนโยบายการคลังที่หดตัวน้อยลงจะช่วยได้เช่นกัน" ฟรายด์แมนระบุ
การลดรายจ่ายโดยอัตโนมัติราว 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือที่เรียกว่า sequester นั้น ได้ส่งผลกระทบองค์กรภาครัฐหลายแห่งนี้ปีนี้นับตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. ขณะที่ผลการศึกษาล่าสุดของสำนักงานงบประมาณสภาคองเกรสสหรัฐ (CBO) เปิดเผยว่าการลดผลกระทบของ sequester จะสร้างงานเพิ่มขึ้น 900,000 ตำแหน่งในปี 2557 ตลาดการเงินที่เต็มไปด้วยความวิตกกังวลเมื่อเร็วๆนี้ยังสะท้อนถึงความกังวลเกี่ยวกับการยุตินโยบายกระตุ้นการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ก่อนกำหนด
*การปฎิรูปภาษี
โอบามายังใช้โอกาสในการเยือนเมืองต่างๆในการกดดันสมาชิกพรรครีพับลิกันให้ยอมรับแผนปฏิรูปภาษีภาคเอกชน ซึ่งยื่นเสนอเป็นครั้งเมื่อปีที่แล้ว "ผมเต็มใจที่จะทำให้กฎหมายภาษีของเราง่ายขึ้น ซึ่งคือการอุดช่องโหว่ ยุติโครงการที่จะส่งงานไปต่างประเทศ ลดดอกเบี้ยสำหรับธุรกิจที่สร้างงานที่นี่ในอเมริกา มอบโครงการด้านภาษีสำหรับผู้ผลิตซึ่งนำการจ้างงานมาสู่สหรัฐ" โอบามากล่าวในระหว่างการเยือนโรงงานของเว็บไซต์ Amazon.com ในเมืองแชตทานูกา
แต่คู่แข่งของโอบามาอย่างพรรครีพับลิกัน ซึ่งรวมถึงนายจอหน์ โบนเนอร์ โฆษกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐดูท่าจะไม่ประทับใจในสุนทรพจน์ล่าสุดและแผนการปฏิรูปภาษีภาคเอกชนอย่างเดียว
"ท่านประธานาธิบดีสนับสนุนการปฏิรูปภาษีภาคเอกชนมาโดยตลอด แต่รีพับลิกันต้องการช่วยครอบครัวและธุรกิจขนาดเล็กด้วย ข้อเสนอนี้ทำให้ประธานาโอบามาสนับสนุนจุดยืนของโอบามาเรื่องภาษี และจุดยืนของโอบามาเรื่องการใช้จ่าย ในขณะที่ทิ้งธุรกิจขนาดย่อมและครอบครัวอเมริกันไว้ข้างหลัง" ไมเคิล สตีล โฆษกสมาชิกนิติบัญญัตสูงสุดของพรรครีพับลิกันออกแถลงการณ์วานนี้
"เราพูดมาโดยตลอดว่าการปฏิรูปภาษีเอกชนต้องควบคู่ไปกับการปฎิรูปภาษีรายย่อย ครอบครัวและธุรกิจขนาดย่อมจึงจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง" รองประธานอาวุโสพรรครีพับลิกันฝั่งสภาผู้แทนราษฎรอีกรายกล่าว โดยกล่าวเสริมว่า พรรคเดมอแครทต้องการเพิ่มรายได้อีกหลายหมื่นล้านดอลลาร์ผ่านการปฏิรูปภาษีเอกชน ซึ่งอยู่คนละขั้วกับสิ่งที่ยอมรับได้
รัฐบาลของโอบามาแนะนำให้มีการปรับลดภาษีบริษัทจาก 35% เหลือ 28% และลดภาษีให้กับบริษัทผู้ผลิตอยู่ที่ไม่เกิน 25% ขณะที่พรรครีพับลิกันเรียกร้องให้มีการปรับลดภาษีให้แก่ภาคธุรกิจในสัดส่วนที่มากกว่า โดยนายมิตต์ รอมนีย์ คู่แข่งโอบามาในศึกการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ผ่านม เสนอให้ภาษีภาคเอกชนสำหรับทุกบริษัทสูงสุดถึง 25%
*เพดานหนี้
ความแตกต่างเรื่องการยุติการทำงานของรัฐบาลสหรัฐกำลังเพิ่มขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ เนื่องจากความแตกต่างของแผนงบประมาณปี 2557 ของทั้งสองพรรค ซึ่งจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 ต.ค.นั้นยังห่างไกลเกินที่จะตกลงกันได้ง่ายดาย นิติบัญญัติพรรครีพับลิกันบางรายให้คำมั่นว่าจะยุติการทำงานของรัฐบาลในฤดูใบไม้ร่วงนี้ หากโอบามาไม่ยอมลดจัดสรรเงินทุนให้แก่การเดินหน้ากฎหมาย "โอบามาแคร์" ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของนายโอบามา และผ่านสภาในปี 2553
นักวิเคราะห์เชื่อว่าโอบามาจะสามารถเอาชนะศึกด้านกฎหมายครั้งสำคัญในเรื่องของการอพยพเข้าเมือง ศึกงบประมาณสำหรับปีงบประมาณหน้าและเพดานหนี้ของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น เขายังมีเป้าหมายในการใช้สุนทรพจน์ที่ทีสาธารณะเพื่อแสดงให้เห็นว่าสมาชิกพรรครีพับลิกันเป็นอุปสรรคขัดขวาง
"โอบามาน่าจะพยายามทำให้ความสนใจของประชาชนเน้นไปที่เศรษฐกิจ ก่อนที่จะมีการอภิปรายงานประมาณในฤดูใบไม้ร่วงนี้ หากสมาชิกรีพับลิกันในสภาคองเกรสจะบีบให้ยุติการทำงานของรัฐบาล หรือบีบให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้สาธารณะของสหรัฐ แน่นอนว่าเขาจะได้รับความคิดเห็นของประชาชนที่มุ่งตรงไปในเรื่องสิ่งที่พรรครีพับลิกันกำลังทำ" ฟรายด์แมนกล่าว
ในสัปดาห์นี้ ครูเกอร์ยังแนะนำให้ผู้นำสภาครองเกรสเพิ่มเพดานหนี้ของรัฐบาลกลางโดยไม่ต้องมีความขัดแย้งกันในฤดูใบไม้ร่วงนี้ โดยเตือนว่าจะเกิดหายนะสำหรับภาคการเงินหากสหรัฐข้ามเส้นขีดจำกัดหนี้
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ นิติบัญญัตสหรัฐรอจนถึงนาทีสุดท้ายจึงค่อยเพิ่มเพดานหนี้ของรัฐบาลกลาง แสดงให้เห็นถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับคำมั่นของสหรัฐว่าจะเคารพเงื่อนไขข้อกำหนด การตัดสินใจของสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ (S&P) ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลกในการลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐปี 2554 ถือเป็นสัญญาณเตือนถึงประสิทธิผลของระบบการเมืองในการจัดการหนี้สาธารณะที่พอกพูลถึงเกือบ 17 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
บทวิเคราะห์โดยเจียง สู้เฟิง จากสำนักข่าวซินหัว