แหล่งข่าวระบุว่า แผนดังกล่าวที่ร่างโดย 4 กระทรวง ได้รับการเสนอต่อสภาแห่งรัฐแล้ว
โรดแมพนี้ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกกับ 10 ภาคธุรกิจ ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ, หุ่นยนต์และเครื่องมือจักรกลระดับไฮเอนด์, อุปกรณ์อากาศยาน, อุปกรณ์วิศวกรรมทางทะเลและเรือที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง, อุปกรณ์การสัญจาทางรถไฟที่มีความก้าวหน้า, ยานพานหะที่ประหยัดพลังงานและใช้พลังงานใหม่, อุปกรณ์ด้านพลังงาน, วัตถุดิบใหม่ๆ, เครื่องมือทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสูงและเวชภัณฑ์ชีวภาพ รวมทั้ง เครื่องมีการผลิตด้านเกษตรกรรม
นายซู โป รมช.กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (MIIT) กล่าวว่า แผน Made in China 2025 จะให้ความสำคัญในการยกระดับภาคการผลิตเพื่อปรับปรุงศักยภาพด้านนวัตกรรม ผนวกรวมข้อมูลและภาคอุตสาหกรรม ผ่านทางการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมภาคการผลิตสู่สากล
แผนการนี้มีขึ้นหลังจากการศึกษาในเชิงลึกโดยสถาบันวิชาการวิศวกรรมของจีน
Made in China 2025 จะครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมการผลิตทั้งหมด โดยจะใช้มีแนวคิดที่ทันสมัย ไม่เพียงแต่จากเยอรมนีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแนวคิดจากสหรัฐ อังกฤษ และประเทศอื่นๆด้วย
นายซูกล่าวว่า แนวคิดริเริ่มดังกล่าวไม่เพียงแต่จะผลักดันการเปลี่ยนแปลงและการยกระดับภาคอุตสาหกรรมการผลิตเท่านั้น แต่ยังผลักดันการพัฒนาด้วย
ท่ามกลางภาวะ “ดุลยภาพใหม่" ของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีน ซึ่งเป็นการเติบโตอย่างช้าๆ แต่มีคุณภาพมากขึ้นนั้น รัฐบาลจีนกำลังพยายามที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่รูปแบบการขยายตัวที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยได้รับแรงผลักดันจากการบริโภคภายในประเทศ ภาคบริการ และที่สำคัญที่สุดก็คือ นวัตกรรม
รมช.MIIT ระบุว่า Made in China 2025 จะให้ความสำคัญกับ 5 โครงการสำคัญ ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมด้านการผลิต
การมุ่งเน้นที่นวัตกรรมได้ส่งผลต่อบริษัทภายในประเทศบางราย เช่น หัวเหว่ย ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ด้านการสื่อสาร โดยหัวเหว่ยได้ใช้จ่ายงบประมาณกว่า 1.90 แสนล้านหยวนในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ขณะที่ 45% ของพนักงานจำนวน 150,000 คน ทำงานอยู่ในด้านนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา