ความขัดแย้งระหว่างซาอุดิอาระเบียและอิหร่าน ได้ดับฝันประเทศผู้ผลิตน้ำมัน 23 รายที่คาดหวัหวังให้มีการตรึงกำลังการผลิตน้ำมัน หลังการประชุมผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่จากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกจัดขึ้นที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จ
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ท่ามกลางภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาดโลกเช่นนี้ ความขัดแย้งของอิหร่านและซาอุดิอาระเบียทำให้ความเป็นไปได้ในการบรรลุข้อตกลงการตรึงการผลิตน้ำมัน "แทบจะเป็นศูนย์" ซึ่งอาจกดราคาน้ำมันดิบให้ต่ำไปลงอีก และอาจสร้างปัญหาให้กับอุตสาหกรรมน้ำมันและเศรษฐกิจของสหรัฐยิ่งกว่าเดิม
การเจรจาตรึงการผลิตคว้าน้ำเหลว
"ผมไม่ได้คาดหวังเลยว่า การประชุมที่โดฮาจะมีการบรรลุข้อตกลงใดๆได้ เพราะรู้ดีว่าความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับซาอุดิอาระเบียนั้นค่อนข้างรุนแรง" ชาร์ลี อีบินเจอร์ นักวิชาการอาวุโสด้านพลังงานจาก Brookings Institution บอกกับสำนักข่าวซินหัว อีบินเจอร์ระบุว่า ซาอุดิอาระเบียต้องการให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันทุกรายตรึงการผลิตน้ำมันของตนไว้ที่ระดับเดือนมกราคม แต่อิหร่านไม่ยอมรับข้อตกลงนี้ เนื่องจากอิหร่านเองก็ต้องการชดเชยปริมาณการผลิตของตน ให้อยู่ในระดับเดียวกับก่อนที่ถูกสหรัฐและสหภาพยุโรปคว่ำบาตร ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม ปริมาณการผลิตและการส่งออกน้ำมันของอิหร่านอยู่ที่ 3.37 ล้าน และ 1.55 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ ซึ่งนับว่ายังน้อยกว่ายอดการผลิตและการส่งออกรายวันในช่วงก่อนที่อิหร่านจะถูกคว่ำบาตรเมื่อปี 2554 อยู่ราว 17% และ 40% นอกจากประเด็นการผลิตน้ำมันแล้ว อิหร่านและซาอุดิอาระเบียยังมีประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศเยเมน ซีเรีย และอิรักอีกด้วย ซึ่งอาจทำให้การบรรลุข้อตกลงเรื่องตรึงการผลิตน้ำมันเป็นไปได้ยากขึ้นอีกในอนาคต "ผมคิดว่าทั้งสองประเทศคงไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการตรึงการผลิตน้ำมันได้ภายในเดือนมิถุนายนปีนี้" อีบินเจอร์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊สมาเป็นเวลานานกว่า 30 ปี กล่าวเสริม
กี่เปลี่ยนแปลงในแวดวงอุตสาหกรรมน้ำมัน
"ผมคิดว่าในปีนี้ ยอดการผลิตน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (shale oil) จะลดลงที่ 800,000 บาร์เรลต่อวัน" อีบินเจอร์กล่าว
อย่างไรก็ตาม การปรับตัวลงของราคาน้ำมันระยะยาวครั้งนี้ อาจไม่ได้กระทบกับอุตสาหกรรมน้ำมันสหรัฐมากเท่าไรนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของอุตสาหกรรมน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (shale oil) เพราะการที่ราคาน้ำมันปรับตัวลงกลับกลายเป็น "ผลดี" กับภาคอุตสาหกรรมนี้ เนื่องจากเป็นโอกาสอันดีที่จะได้พัฒนาประสิทธิภาพทางการผลิต
กอร์ดอนระบุว่า ในระยะสั้นๆบริษัทน้ำมันของสหรัฐบางแห่งอาจต้องเป็นหนี้ ในขณะที่บางแห่งอาจต้องยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์สินจากการล้มละลาย อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้อาจทำให้มี "อุตสาหกรรมหน้าใหม่" เกิดขึ้น
"ช่วงที่ราคาน้ำมันเกิน 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ไม่มีใครเคยตั้งคำถามถึงแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมนี้ เพราะฉะนั้น ทุกอย่างในตอนนี้จึงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพล้วนๆ"
"ตัวผู้เล่นอาจเปลี่ยนไป แต่ไม่สามารถเปลี่ยนทรัพยากรน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (shale oil) ที่มีอยู่ในสหรัฐ รวมถึงโอกาสที่ดีในระยะยาว" กอร์ดอนกล่าว
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ
การที่ที่ประชุมไม่สามารถบรรลุข้อตกลงประเด็นตรึงกำลังการผลิตน้ำมันได้ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐปีนี้ในบางภาคส่วน เนื่องจากผลประโยชน์ที่ได้จากการที่ราคาน้ำมันตกต่ำ อาจไม่เพียงพอจะชดเชยต่อความเสียหายของอุตสาหกรรมน้ำมันสหรัฐซึ่งมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ ทั้งในเรื่องของการลดการลงทุน และการปลดพนักงานอีกเป็นจำนวนหลายหมื่นคน
"ผู้คนต่างพูดถึงความเสียหายบางอย่าง เช่น ในอนาคตข้างหน้าอาจมีคนตกงานถึง 100,000 คน" อีบินเจอร์กล่าว
ขณะที่เจพีมอร์แกนคาดว่า ภาวะราคาน้ำมันที่ตกต่ำนี้อาจมีส่วนช่วยหนุนเศรษฐกิจสหรัฐให้ขยายตัวขึ้น 0.7% ในเดือนมกราคม ปี 2558
อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคมปีนี้ เจพีมอร์แกนได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงปี 2558 ลง 0.3% ส่วนในปี 2559 นั้น เจพีมอร์แกนคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันที่ต่ำลงอาจมีส่วนช่วยหนุนให้เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 0.1%
บทวิเคราะห์โดย Zheng Qihang จากสำนักข่าวซินหัว