เศรษฐกิจอังกฤษได้ชะลอตัวลงอย่างมาก ในขณะที่ประเทศเตรียมจัดลงประชามติว่า จะถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) หรือไม่ ในวันที่ 23 มิ.ย.นี้
ความไม่แน่นอนที่ปกคลุมผลการลงคะแนนเสียงกำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้วยอัตราการขยายตัวที่ร่วงลงในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เหลือเพียง 0.4% จากระดับ 0.6% ในไตรมาส 4 ปี 2558
ข้อมูลที่สร้างความผิดหวังในเรื่องการลงทุนและการค้านั้น ถือเป็นภาคธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากกรณีการถอนตัวจากการเป็นสมาชิก EU ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่อยู่เบื้องหลังของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงนี้
ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติชี้ว่า การลงทุนในภาคธุรกิจร่วงลง 0.5% ในไตรมาสแรก โดยผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ตัวเลขที่อ่อนตัวลงมาจากผลกระทบของการลงประชามติ
แซม ทอมบ์ ที่ปรึกษาของแพนเทออน แมคโครอิโคโนมิคส์ กล่าวว่า การลงทุนในภาคธุรกิจไตรมาส 1 ร่วงลง 0.5% และดูเหมือนว่า จะปรับตัวลงอีกในช่วงไตรมาส 2
แซม กล่าวต่อไปว่า ความมั่นใจของบริษัทเอกชนนั้นลดน้อยลง และหลายบริษัทก็ดูเหมือนว่า จะจริงจังกับเรื่องความเสี่ยงจาก Brexit หลังจากที่ได้มีการประกาศวันจัดลงประชามติเมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา
การขยายตัวไตรมาสแรกนั้น ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากกลุ่มผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว ในขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคนั้น เพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอังกฤษยังไม่มีเสถียรภาพต่อเนื่องกัน 4 ไตรมาส อันเนื่องมาจากตัวเลขที่เป็นลบในด้านสมดุลการค้า ซึ่งขยายตัวขึ้น 0.4% เมื่อเทียบรายไตรมาส สู่ระดับติดลบ 1.8 หมื่นล้านปอนด์ หรือติดลบ 2.63 หมื่นล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรก และยังสะท้อนให้เห็นถึงการอ่อนตัวลงของประเทศพันธมิตรการค้ารายใหญ่ที่สุดของ EU
ตัวเลขที่ผ่านการทบทวนซึ่งสำนักงานสถิติได้เผนแพร่ในเดือนมี.ค.เพียงเดือนเดียวนั้น ชี้ว่า ผลผลิตจากภาคการก่อสร้างและธุรกิจบริการ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนใสกกว่า 3 ไตรมาสของระบบเศรษฐกิจนั้น ร่วงลงมากที่สุดเมื่อเทียบเป็นรายเดือนนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2555
สถิติเหล่านี้ถือว่าไม่ดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ปีนี้ ทอมบ์ กล่าวว่า เศรษฐกิจสูญเสียแรงผลักดันไปภายในไตรมาส แม้ว่า จีดีพีจะขยายตัว 0.2% เมื่อเทียบรายเดือนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาก็ตาม ซึ่งสอดคล้องกับอัตราเฉลี่ยของปีที่แล้ว จะยังคงขยายตัวได้เพียง 0.2% เมื่อเทียบรายไตรมาสในไตรมาส 2 แต่ผลสำรวจที่บ่งชี้ถือการอ่อนตัวลงนั้นมีแนวโน้มว่า จะอ่อนตัวลงมากไปกว่านี้
แต่ในช่วงสิ้นไตรมาส 2 ซึ่งเป็นช่วงการลงประชามติ และหากผลการลงประชามติออกมาว่า อังกฤษจะยังคงอยู่ในกลุ่ม EU ต่อไป เหล่าผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจะดีดตัวสูงขึ้น
อลิซาเบธ มาร์ตินส์ นักเศรษฐศาสตร์ของเอชเอสบีซี กล่าวว่า จากข้อเท็จจริงที่ว่า การชะลอตัวได้รับปัจจัยผลักดันจากการลงทุนและการส่งออกก็ช่วยหนุนมุมมองของเราที่ว่า เศรษฐกิจควรจะดีดตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อตั้งสมมติฐานว่า มีการโหวตให้เป็นสมาชิก EU ในเดือนมิ.ย.
บทวิเคราะห์โดย ปีเตอร์ บาร์กเกอร์ สำนักข่าวซินหัวรายงาน