Analysis: ผู้เชี่ยวชาญชี้ไม่มีทางออกเร่งด่วนในการรับมือมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 21, 2018 14:43 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

หลังจากที่สหรัฐประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรอย่างรุนแรงต่อหลายประเทศ รัสเซียก็ได้ออกมาตอบโต้อย่างรวดเร็วด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศต่างๆ เช่น อิหร่าน และ ตุรกี

ผู้เชี่ยวชาญของรัสเซียเปิดเผยว่า แม้ว่าการสร้างความร่วมมืออันแข็งแกร่งจะทำให้รัสเซียสามารถกระชับความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆได้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น แต่คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้นจนกว่าปัญหาพื้นฐานจะได้รับการแก้ไข

  • การลุกลามของวิกฤตเศรษฐกิจ

เมื่อไม่นานมานี้ สหรัฐเดินหน้าประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อหลายประเทศ ด้วยท่าทีอันแข็งกร้าว โดยในวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา สหรัฐได้กลับมาใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านอีกครั้ง หลังจากที่ได้ยกเลิกไปเมื่อ 2 ปีก่อน ต่อมาในวันที่ 8 ส.ค. สหรัฐประกาศใช้มาตรการลงโทษต่อรัสเซีย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบริษัทรัสเซียเกือบทั้งหมด และในวันที่ 10 ส.ค. สหรัฐประกาศขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมจากตุรกี เป็น 2 เท่า

"มาตรการคว่ำบาตรไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อรัสเซีย แต่กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญของนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐ" นายอังเดร กอร์ตูนอฟ อธิบดีสภาวิเทศสัมพันธ์รัสเซีย (RIAC) กล่าว

การออกมาตรการที่รุนแรงของสหรัฐในครั้งนี้สร้างความปั่นป่วนต่อเศรษฐกิจของหลายประเทศ โดยค่าเงินรูเบิลของรัสเซียร่วงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่กลางปี 2560 ขณะที่ค่าเงินลีราของตุรกีทรุดแตะ 25% ภายในสัปดาห์เดียว

เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบอย่างหนัก รวมทั้งค่าเงินในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ปรับตัวลดลง และความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งทั้งหมดกลายเป็นปฏิกริยาลูกโซ่

"มาตรการคว่ำบาตรเป็นเรื่องอ่อนไหว เพราะมาตรการนี้พุ่งเป้าไปที่การลดรายได้ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเจ็บปวดไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับประเทศใดก็ตาม" นายอัซดา เคอร์ทอฟ บรรณาธิการวารสาร National Strategic Issues ซึ่งตีพิมพ์โดยสถาบันเพื่อการศึกษาทางยุทธศาสตร์รัสเซีย

นายเคอร์ทอฟยังกล่าวด้วยว่า สหรัฐกำลังใช้วิธีการทางเศรษฐกิจเพื่อบังคับให้ประเทศต่างๆสยบยอมและปฎิบัติตามสหรัฐ

  • ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน

ปัญหาที่เผชิญร่วมกันมักก่อให้เกิดความร่วมมือกัน ด้วยเหตุนี้ รัสเซียจังได้สานสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้านในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยหลังจากที่สหรัฐประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน รัสเซียก็ได้ประกาศผนึกกำลังด้านเศรษฐกิจกับอิหร่าน และมุ่งมั่นที่จะรักษาข้อตกลงทางนิวเคลียร์ ซึ่งสหรัฐประกาศถอนตัวจากข้อตกลงดังกล่าวไปแล้วในเดือนพ.ค.ปีนี้

ในระหว่างการเดินทางเยือนกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกีนั้น นายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซีย เปิดเผยว่า ตุรกีและรัสเซียจะเดินหน้ามุ่งพัฒนาความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ ตลอดจนหารือเกี่ยวกับวิกฤตซีเรีย นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศหารือเรื่องการแก้ปัญหาเรื่องค่าเงินประจำชาติ

นอกจากนี้ รัสเซีย อิหร่าน คาซัคสถาน เติร์กเมนิสถาน อาเซอร์ไบจาน ได้ลงนามลงนามในอนุสัญญาเกี่ยวกับระเบียบการด้านทะเลแคสเปียน เมื่อไม่นานมานี้

"ความร่วมมือทำให้ประเทศต่างๆดำเนินการได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนหาทางออกที่เกิดประโยชน์" นายเคอร์ทอฟกล่าวตัวสำนักข่าวซินหัว

เขากล่าวเสริมว่า แรงกดดันจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐสามารถสะท้อนให้เห็นได้ในองค์กรระดับภูมิภาคของประเทศเหล่านี้ อีกทั้งประเทศสมาชิกอื่นจะ "ถูกกดดันให้ปฎิบัติให้สอดคล้อง" เพื่อรับมือกับมาตราการคว่ำบาตรเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ สังคมนานาชาติอาจจะตั้งคำถามเกี่ยวกับบทบาทของสหรัฐในเวทีโลก และแสวงหาระบบการค้าแบบพหุนิยม หากสหรัฐละเมิดกฎหมายระหว่าประเทศและส่งผลเสียต่อผลประโยชน์องประเทศอื่น

"มันอาจะไม่เกิดขึ้นในทันที แต่สหรัฐจะค่อยๆสูญเสียจุดยืนผู้นำที่เด่น" นายเคอร์ทอฟกล่าว
  • ไม่มีทางออกเร่งด่วน

แม้รัสเซียพยายามสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับประเทศอื่นๆ แต่รัสเซียยังมีหมากต่อรองแค่ในกรอบจำกัดเท่านั้น อันเนื่องมาจากมาตราการคว่ำบาตรของสหรัฐ

ความไม่สมดุลทางการค้าระหว่างสหรัฐและรัสเซียนั้น ส่งผลให้รัสเซียตอบโต้สหรัฐได้ไม่เต็มที่

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าท ปัจจุบันรัสเซียต้องพึ่งพาสหรัฐในด้านเศรษฐกิจ มากกว่าที่สหรัฐจะพึ่งพารัสเซีย

นายฟิโอดอร์ ลุคยานอฟ บรรณาธิการนิตยสาร Russia in Global Affairs กล่าวว่า รัสเซียควรจัดการกับความความเสี่ยงหลายด้าน และต้องอยู่รอดให้ได้ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยแรงกดดันอันรุนแรง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ