"ความเสี่ยงที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจเริ่มลดน้อยลงและอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ เศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวชะลอลงเนื่องจากเศรษฐกิจมีการปรับตัวจนสามารถขยายตัวได้อย่างสมดุลมากขึ้นนั้น จะช่วยชดเชยอุปสงค์ที่แข็งแกร่งขึ้นจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจในประเทศกลุ่มนี้ฟื้นตัวขึ้น" เอดีบีระบุในรายงาน "Asian Development Outlook 2014"
รายงานของเอดีบีระบุว่า "คาดว่าการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.9% ในปี 2557 จากระดับ 1% ในปี 2556 ก่อนที่จะขยายตัวแข็งแกร่งมากขึ้นสู่ระดับ 2.2% ในปี 2558 ส่วนเศรษฐกิจจีนนั้น คาดว่าอัตราการขยายตัวจะชะลอลงสู่ระดับ 7.5% ในปี 2557 และ 7.4% ในปี 2558"
ขณะเดียวกันคาดว่า รูปแบบการขยายตัวของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆภายในประเทศ
"ความตึงเครียดด้านแรงงานในกัมพูชา และความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย กำลังขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ โดยในปี 2556 จีดีพีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หดตัวลง 5% เนื่องจากตลาดส่งออกชะลอตัวลงและภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบต่ออินโดนีเซีย ไทย และมาเลเซีย" รายงานของเอดีบีระบุ
ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2557 คาดว่าจะคล้ายคลึงกับในปี 2556 เนื่องจากการขยายตัวที่ดีขึ้นของตลาดส่งออกจะได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอลง และคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2558 จะขยายตัว 5.4% โดยคาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะกระเตื้องขึ้นหลังจากตัวเลขเงินเฟ้อลดลง และคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวขึ้นหากความตึงเครียดทางการเมืองลดน้อยลง สำนักข่าวเกียวโดรายงาน