ทั้งนี้ ค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงที่แท้จริงลดลง 0.1% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบจากเดือนม.ค. เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อได้หักชดเชยกับค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงที่เพิ่มขึ้น 0.1% ขณะที่ค่าจ้างรายสัปดาห์ที่แท้จริงลดลง 0.1% ซึ่งสะท้อนถึงการลดลงของค่าจ้างรายชั่วโมงหลังหักเงินเฟ้อ และชั่วโมงการทำงานของแรงงานที่ไม่ได้เพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.พ. หลังจากร่วงลง 0.7% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกของอัตราเงินเฟ้อนับตั้งแต่เดือนต.ค.ปีที่แล้ว และเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.
เมื่อเทียบรายปี ดัชนี CPI ทรงตัวในเดือนก.พ. หลังจากลดลง 0.1% ในเดือนม.ค.
นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายเดือน และลดลง 0.1% เมื่อเทียบรายปี
หากไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบรายเดือน และ 1.7% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.ปีที่แล้ว