"ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมของระบบการธนาคารอย่างเต็มที่ และประเด็นนี้ได้ก่อให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกที่อาจจะมีขึ้น" นายฟูรูกาวากล่าวกับสำนักข่าวเกียวโด
นายฟูรูกากว่ายังกล่าวด้วยว่า "หากเรารับรู้ว่าระบบการธนาคารเงาเป็นอย่างไร และทางการจีนดำเนินมาตรการที่เหมาะสม ผมคิดว่าเรื่องนี้จะไม่ใช่ปัญหาใหญ่"
รมช.คลังญี่ปุ่นคาดว่า ในการประชุม G-20 ครั้งนี้ ญี่ปุ่นจะให้คำมั่นสัญญาว่าจะสนับสนุนการฟื้นฟูด้านการคลัง ด้วยการอธิบายแผนแม่บทด้านนโยบายเศรษฐกิจและการคลังที่ได้ร่างขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว
"การสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างความแข็งแกร่งด้านการคลัง เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญในการประชุม G-20 ครั้งนี้ หลังจากนั้น เราก็จะกำหนดแนวทางที่เป็นรูปธรรมสำหรับการปฏิรูปการคลัง ซึ่งอาจจะมีขึ้นในฤดูร้อนนี้ และจะอธิบายเกี่ยวกับแนวทางดังกล่าวในที่ประชุมสุดยอด G-20 ครั้งต่อไป ซึ่งจะจัดในช่วงต้นเดือนก.ย. ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย" นายฟูรุกาว่ากล่าว
นักวิเคราะห์บางคนกล่าวว่า ระบบการธนาคารเงา ซึ่งเป็นระบบจัดหาเงินกู้นอกระบบนั้น อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงเช่นเดียวกับวิกฤตซับไพร์มซึ่งเกิดขึ้นกับสหรัฐในปี 2550 สำนักข่าวเกียวโดรายงาน