ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐหลายคนยังคงมองภาพเศรษฐกิจจีนในแง่บวก แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวในอัตราที่ช้าลงที่ 7.5% ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ซึ่งเป็นการชะลอตัวครั้งที่ 11 ในช่วง 13 ไตรมาสที่ผ่านมา
ช้าลงแต่ยั่งยืนขึ้น
นายดักลาส พาล รองประธานการศึกษาวิจัยที่คาร์เนกี้ เอนโดวเมนต์ ฟอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล พีซ (Carnegie Endowment for International Peace) กล่าวกับซินหัวว่า เศรษฐกิจทุกด้านชะลอตัวลงในช่วงสิ้นสุดของยุคดาวรุ่ง ปัจจุบัน จีน “มาถึงจุดที่ใช้การลงทุนมากขึ้นก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ"
นายพาลกล่าวว่า “จีนสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจหยุดชะงักอย่างรุนแรงได้" แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าที่ต้องทำให้ได้คือ “การเพิ่มผลผลิตและการหนีจากกับดักของรายได้ชนชั้นกลาง" และเสริมว่า “เป็นไปได้ที่จีนจะทำได้ แต่หลายๆ ประเทศก็ล้มเหลว ตอนนี้จีนกำลังเผชิญกับช่วงระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านมาเป็นเวลาหลายปี โดยอยู่ห่างไกลจากจุดเริ่มต้นและเข้าสู่รูปแบบการขยายตัวที่เสถียรภาพมากขึ้น"
อัตราการเติบโตที่ชะลอตัวในขณะนี้ “ควรจะเป็นไปอย่างยั่งยืนสำหรับช่วงเวลาต่อจากนี้ไป" นายสเตเพิลตัน รอย ผู้อำนวยการสถาบันคิสซิงเจอร์ (Kissinger Institute) เกี่ยวกับจีนและสหรัฐที่ศูนย์วิลสัน (Wilson Center) และเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศจีนตั้งแต่ปี 2534 ถึง 2538 กล่าวกับซินหัว
“อัตราการขยายตัวที่ค่อนข้างจะยั่งยืน จะสามารถความต้องการด้านการจัดการจ้างงานสำหรับคนรุ่นใหม่ที่เข้าสู่ระบบงาน แต่ในเวลาเดียวกันก็ควรระวังไม่ให้เกิดปัญหาจากการขยายตัวที่รวดเร็วเกินไป" นายรอยกล่าวต่อ
การปฏิรูปมีความสำคัญ
วิกฤตการเงินทั่วโลกที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แสดงให้เห็นว่า อัตราการขยายตัวในจีนไม่ได้เป็นผลมาจากปัจจัยภายในประเทศโดยตรง แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่นอกเหนือการควบคุมของจีน
“หนึ่งในเป้าหมายในแผนการพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 12 คือ ความพยายามในการเปลี่ยนเป้าหมายจากการพึ่งพาการส่งออก ซึ่งสวนทางกับการบริโภคภายในประเทศ เพื่อสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศ" นายรอยกล่าวและเสริมว่า “หากการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนขึ้นอยู่กับการบริโภคภายในประเทศมากกว่า เศรษฐกิจของประเทศก็จะไม่ขึ้นอยู่กับความผันผวนจากภายนอกมากขึ้น"
ช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังเช่นในกรณีของสหรัฐอเมริกาและยุโรปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เมื่อช่วงเวลาของการขายสินทรัพย์เพื่อลดหนี้สินมาแทนที่การขยายตัวของสภาพคล่องทางการเงินในช่วงทศวรรษก่อนหน้านี้
บอนนี่ เกลเซอร์ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านเอเชียของศูนย์กลยุทธ์และการศึกษานานาชาติ (Center for Strategic and International Studies) กล่าวว่า “อัตราการขยายตัวแบบยั่งยืนของจีนอาจจะเกิดขึ้นนานถึง 10 ปี ซึ่งบางทีอัตราการขยายตัวอาจอยู่ที่ระดับ 7-8%" หากใช้มาตรการต่างๆ “ที่เกี่ยวกับประเด็นเรื่องการปฏิรูปทางการเงินและการปฏิรูปภาษี และปฏิรูปการจดทะเบียนภาคครัวเรือน รวมถึงการสร้างเครือข่ายประกันสังคมใหม่"
การปฏิรูปของจีนคงไม่สามารถเกิดขึ้นภายในครั้งเดียว เกลเซอร์กล่าวว่า “การปฏิรูปต้องทำอย่างช้าๆ ซึ่งจะมีผู้ชนะและผู้แพ้ในจีน" และเสริมว่า รัฐบาลจีน “จะต้องพิจารณาผลกระทบและปรับเปลี่ยนเพื่อให้จีนก้าวไปข้างหน้า เหมือนกับวลีของจีนที่ว่า ขณะที่เดินก้าวข้ามแม่น้ำ ก็ต้องเหยียบถูกหินกันบ้าง"
เกลเซอร์ยังตั้งข้อสังเกตว่า “สุดท้ายแล้ว เรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวกับอัตราการขยายตัวทั้งหมด แต่เกี่ยวกับคุณภาพของการขยายตัว" สำนักข่าวซินหัวรายงาน