นายกูร์ราให้สัมภาษณ์นอกรอบกับนักข่าวในระหว่างการประชุมประจำฤดูใบไม้ร่วงของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ว่า “นี่เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะไม่ใช่เฉพาะเรื่องของสหรัฐ แต่จะมีผลกระทบไปทุกที่"
ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังสหรัฐได้ปิดหน่วยงานบางแห่งของรัฐบาลครั้งแรกในรอบ 17 ปี และยังมีปัญหาความขัดแย้งในเรื่องเพดานหนี้ตามมา
ทั้งนี้ วันที่ 17 ต.ค.จะเป็นอีกหนึ่งเส้นตายที่สำคัญ เนื่องจากเป็นวันสุดท้ายที่กระทรวงการคลังสหรัฐคาดว่าจะต้องมั่นใจว่ามีเงินเพียงพอสำหรับการชำระหนี้ หากรัฐสภาไม่มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการเพิ่มเพดานหนี้
นายกูร์ราตั้งข้อสังเกตว่า วิกฤตเพดานหนี้เกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐกำลังเริ่มกลับมาแข็งแกร่ง
“เศรษฐกิจสหรัฐกำลังส่งสัญญาณถึงความคึกคัก ความแข็งแกร่ง และมีอำนาจ แล้วก็มาเกิดเรื่องนี้" เขากล่าวโดยอ้างถึงการขยายตัวในระยะนี้ของดัชนี้วัดทางเศรษฐกิจของสหรัฐหลายดัชนีซึ่งรวมไปถึงตลาดแรงงาน
อย่างไรก็ดี นายกูร์ราระบุว่า ความล้มเหลวในการเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐมีความเป็นไปได้ต่ำ แต่ก็จะมีผลกระทบอย่างรุนแรงหากเกิดขึ้นจริง และอาจจะฉุดรั้งเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย
OECD ประเมินว่า ความล้มเหลวในการเพิ่มเพดานหนี้ของหสหรัฐจะฉุดรั้งเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ OECD ให้เข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า และเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่จะชะลอตัวลงอย่างรุนแรง
นอกจากนี้ OECD ระบุว่า การผิดนัดชำระหนี้จะส่งผลให้ปริมาณนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกของสหรัฐปรับตัวลง และความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในแทบจะทุกภาคส่วน สำนักข่าวซินหัวรายงาน