รายงาน Economics of Climate Change in East Asia ของเอดีบีระบุว่า การปรับตัวเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในจีน ญี่ปุ่น มองโกเลีย และเกาหลีใต้ จะเพิ่มอัตราการเกิดอุทกภัยและลมพายุโซนร้อนในเขตพื้นที่ชายฝั่ง และส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในพื้นที่เกษตรทางตอนเหนือ
ผลการศึกษาได้เน้นย้ำถึงความเสี่ยงในการปล่อยปละละเลยเรื่องสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงในภูมิภาค ซึ่งมีสัดส่วนการปลดปล่อยก่าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ 30% ของโลกในปี 2553 โมเดลการผลักดันเศรษฐกิจขยายตัวของจีนส่งผลให้จีนป็นประเทศที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนมากที่สุดในโลก และหลายๆเมืองของจีนเองก็ถูกปกคลุมไปด้วยกลุ่มหมอกพิษที่สูงกว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกเกือบ 40 เท่า
“เอเชียตะวันออกจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้โมเดลการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับการปล่อยคาร์บอนและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในจีนนั้น มาตรการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพอากาศในภูมิภาค และลดปัญหาสุขภาพของคนในเมือง" รายงานระบุ
นอกจากนี้ ผลการประเมินในปัจจุบันบ่งชี้ว่า อุณหภูมิโดยเฉลี่ยในปี 2633 จะสูงกว่าค่าเฉลี่ยระหว่างปี 2504-2553 ที่ 3.8-5.2 องศาเซสเซียส โดยภูมิภาคดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ในทุก 100 ปี ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประชาชน 12 ล้านคนใน 23 เมือง และสร้างความเสียหายราว 8.64 แสนล้านดอลลาร์ รายงานระบุ