“ขณะที่เหลือเวลาเพียง 2 ปี และเมื่อพิจารณาถึงอุปสรรคและความท้าทายที่มีอยู่ การประสบความสำเร็จอย่างเต็มที่ในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในสิ้นปี 2558 ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้สูง" รายงานการกำกับดูแลการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของเอเชียระบุ โดยรายงานดังกล่าวเป็นพิจารณาทบทวนรอบครึ่งปีเกี่ยวกับความร่วมมือและการร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคของเอเชีย
เอดีบีระบุว่า กำหนดเส้นตายในปี 2558 ควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นหลักสำคัญและเป็นก้าวสำคัญสู่การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีการผสมผสานกัน
“ความวุ่นวายทางการเงินที่ส่งผลกระทบต่อสมาชิกอาเซียนหลายประเทศ หลังมีกระแสเงินทุนไหลออกจากคาดการณ์เกี่ยวกับการชะลอกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นั้น ได้สร้างความท้าทายครั้งใหม่ต่อการบรรลุเป้ามายตามตารางเวลาของ AEC" รายงานระบุ
รายงานของเอดีบีระบุว่า อินโดนีเซียได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยเงินรูเปียห์อ่อนค่าลงอย่างมากและตลาดหุ้นอินโดนีเซียร่วงลงอย่างหนัก ขณะที่มาเลเซียและไทยก็ได้รับผลปกระทบรุนแรงเช่นกัน
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศกว่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์และมีประชากร 620 ล้านคนนั้น หวังที่จะส่งเสริมการค้า การลงทุนและแลกเปลี่ยนแรงงานที่มีทักษะสูงในกลุ่มสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ