รายงาน Asian Development Outlook 2557 มุ่งเน้นถึงความจำเป็นที่รัฐบาลของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะต้อง “ใช้นโยบายการคลังเชิงรุกเพื่อปิดช่องว่างดังกล่าว และส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงมากขึ้น"
นายจู้จง จวง รองหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอดีบี กล่าวว่า “นโยบายการคลังมี และควรมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างครอบคลุมทั่วถึงในเอเชีย"
“บรรดาผู้กำหนดนโยบายในเอเชียจะต้องออกมาแสดงบทบาทในการบรรจุเป้าหมายแบบบูรณาการในแผนงบประมาณเพื่อนำไปสู่การแบ่งปันผลประโยชน์อย่างทั่วถึงจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ"
นโยบายการคลังสำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างครอบคลุม และทั่วถึง ซึ่งเป็นบทตอนสำคัญในรายงาน ระบุว่า ในระหว่างทศวรรษที่ 19 และ 20 นั้น ประชากรมากกว่า 80% ของภูมิภาคอาศัยอยู่ในประเทศที่มีค่าสัมประสิทธิ์จีนี (Gini coefficients) หรือปัจจัยชี้วัดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้ ซึ่งกำลังย่ำแย่ลง
“แรงงานตลาดจำพวกเดียวกันที่เคยช่วยส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค - - โลกาภิวัฒน์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการปฏิรูปตลาด - - กำลังทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน" รายงานระบุ “ประสบการณ์ของประเทศอื่นๆแสดงให้เห็นว่า รายจ่ายสาธารณะสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้จริงๆ"
รายจ่ายของรัฐบาลเช่นในด้านการศึกษา หรือบริการสุขภาพจะช่วยให้คนยากจนเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้มากขึ้น รวมถึงช่วยปรับปรุงคุณภาพของสนามเด็กเล่นอีกด้วย
นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานที่มีค่าบริการไม่สูงนัก และเข้าถึงได้ก็จะช่วยให้คนจนได้รับผลประโยชน์มากขึ้นจากผลพวงที่มาพร้อมกับการปรับปรุงด้านการศึกษา และสุขภาพ
อย่างไรก็ตาม รายงานเผยว่า ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียล้าหลังภูมิภาคอื่นๆในด้านการลงทุนสาธารณะเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมกัน
รายงานชี้ให้เห็นว่า “รายจ่ายสาธารณะในด้านการศึกษาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในภูมิภาค เมื่อเทียบกับสัดส่วน 5.3% ในประเทศพัฒนาแล้ว และ 5.5% ในภูมิภาคละตินอเมริกา ซึ่งความแตกต่างอยู่ที่รายจ่ายสำหรับบริการสุขภาพ โดยคิดเป็นสัดส่วน 2.4% ในเอเชีย เทียบกับ 8.1% ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และ 3.9% ในละตินอเมริกา" สำนักข่าวเกียวโดรายงาน