นอกจากนี้ อียู ยังได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมกับประเทศโมลโดวา และจอร์เจีย ซึ่งเป็นอดีตรัฐของสหภาพโซเวียตด้วยเช่นกัน
ประธานาธิบดีเปโตร กล่าวในพิธีลงนามที่กรุงบรัสเซลส์ว่า ยูเครนจะใช้โอกาสนี้พัฒนาประเทศให้ทันสมัย
ข้อตกลงครั้งนี้ พุ่งเป้าไปที่การสนับสนุนการปฏิรูปที่สำคัญของยูเครน การฟื้นตัวและการขยายตัวของเศรษฐกิจ บรรษัทภิบาลและความร่วมมือในภาคส่วนต่างๆ เช่น พลังงาน ขนส่ง และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ผู้นำยูเครนจะหารือเรื่องเหตุรุนแรงในพื้นที่ตะวันออกของยูเครนกับนายเฮอร์มาน ฟาน รอมปุย ประธานสภายุโรป และนายโฮเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปนอกรอบการประชุมสุดยอดอียูที่จัดขึ้นในวันนี้
ทั้งนี้ การจรจาต่อรองเรื่องข้อตกลงระหว่างอียูแลุยูเครนมีขึ้นตั้งแต่เดือนมี.ค. 2550 ส่วนข้อตกลงเขตการค้าเสรีเชิงลึกและครอบคลุมได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนก.พ. 2551 ภายหลังจากที่ยูเครนเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก
ทางด้านรัสเซียได้ออกมาเตือนถึงเรื่องผลพวงที่จะตามมาอย่างใหญ่หลวงจากข้อตกลงดังกล่าว