นายบาร์นิเยร์เปิดเผยระหว่างบรรยายการสอนให้มหาวิทยาลัยบ็อคโกนีในเมืองมิลานของอิตาลีว่า หนึ่งบทเรียนสำคัญที่ตนได้เรียนรู้จากการอยู่ในคณะกรรมาธิการอียูมา 5 ปีก็คือ "ความจำเป็นในการเฝ้าระวังตลอดเวลา" เพื่อรับมือความเสี่ยงใหม่ๆที่อาจเกิดขึ้นต่อเสถียรภาพทางการเงิน
"วิกฤตที่ส่งผลกระทบต่อยุโรปตั้งแต่ปี 2551 ยังไม่สงบ แน่นอนว่าเราผ่านช่วงเลวร้ายที่สุดไปได้แล้ว แต่ยังติดอยู่ใจกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่จุดชนวนจากวิกฤตการเงิน" นายมิเชลกล่าว พร้อมกันนี้ยังเตือนถึง "ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในภาคการเงิน"
กรรมาธิการอียูแสดงความเห็นว่า 4 ประเด็นสำคัญที่อียูควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือ สถาบันทางการเงินที่ใหญ่เกินจะล้มละลาย การใช้กฎเกณฑ์ที่ขาดความสอดคล้องกับสากล วิวัฒนาการของภาคธนาคารเงาที่ไม่ควบคุมไม่ได้ และการที่ภาคธุรกิจพึ่งพาภาคธนาคารอย่างหนัก
นายบาร์นิเยร์ระบุว่า อียูยังไปไกลกว่ากลุ่ม G-20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่สหภาพธนาคาร ขณะเดียวกันควรใช้มาตรการและกฎระเบียบใหม่ๆเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ยูโรโซน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาตลาดเงินในยุโรปที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ และยังเป็นวิธีที่ดีกว่าในการคุ้มครองผู้จ่ายภาษีและพลเมืองจากความเสี่ยงที่แบงก์แบกรับสำนักข่าวซินหัวรายงาน