อย่างไรก็ตาม IMF มองว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เคลื่อนไหวในระดับต่ำ ประกอบกับตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรป จะช่วยหนุนเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิกให้พลิกฟื้นได้ โดยคาดว่า เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะสามารถกลับมาขยายตัวใน 5.6% ในปี 2558 และ 5.5% ในปี 2559 เมื่อเทียบเป็นรายปี
IMF ระบุว่า การปรับตัวลงของราคาพลังงานจะช่วยให้รายได้ส่วนบุคคลให้ปรับตัวสูงขึ้น โดยรายได้ส่วนบุคคลมีส่วนช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคขึ้นราว 1.7% ในปี 2558
ทั้งนี้ IMF คาดว่าการฟื้นตัวดังกล่าวจะสามารถชดเชยเม็ดเงินทุนไหลออกจากภูมิภาคที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยมีการคาดการณ์กันโดยทั่วไปว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในช่วงปีนี้ หลังจากเศรษฐกิจสหรัฐส่งสัญญาณฟื้นตัว