"เราให้ความสำคัญกับทรัพยากรการศึกษาในด้านที่จำเป็นที่สุด" นายคราโตกล่าวในระหว่างเยือนโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงลิสบอน
ความเห็นของนายคราโตมีขึ้น หลังล่าสุด IMF เสนอให้โปรตุเกสลดทรัพยากรในระบบการศึกษาของประเทศ ซึ่งเคยมีการลดครั้งใหญ่ไปแล้วเมื่อหลายปีก่อน เพื่อแลกกับความช่วยเหลือทางการเงิน 7.8 หมื่นล้านยูโรจากเจ้าหนี้ต่างประเทศ ได้แก่ คณะกรรมาธิการยุโรป (EC), IMF และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตามข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายลงนามร่วมกันเมื่อปี 2554
การลดขนาดระบบการศึกษาครั้งนั้นทำให้ครูตกงานนับพันคน และส่งผลให้โปรตุเกสตกอยู่ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจอ่อนแอที่สุดในยุโรป
"ทางการควรกำหนดเป้าหมายสำหรับภาคที่มีเจ้าหน้าที่มากเกินไป รวมถึงภาคการศึกษา ซึ่งการจัดสรรบุคลากรควรจะสอดคล้องกับประชากรวัยเรียนที่กำลังลดลง" รายงานของ IMF ซึ่งเผยเมื่อวันจันทร์ระบุ
ทั้งนี้ รัฐบาลปัจจุบันของโปรตุเกสซึ่งเป็นฝ่ายกลาง-ขวา ถูกพรรคฝ่ายค้านโจมตีมานานเกี่ยวกับนโยบายรัดเข็มขัดที่เข้มงวด โดยพรรคฝ่ายค้านหวังว่าจะสามารถพลิกผลการเลือกตั้งครั้งหน้าที่จะจัดขึ้นในเดือนต.ค.ปีนี้ สำนักข่าวซินหัวรายงาน