โครงการพื้นที่และเส้นทางเศรษฐกิจดังกล่าว ซึ่งเสนอโดยจีนในปี 2556 เป็นเครือข่ายการค้าและโครงสร้างพื้นฐาน ที่รวมถึงเขตเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม และเส้นทางสายใหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อเชื่อมโยงเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเข้าด้วยกัน
รัฐบาลไทยได้สนับสนุนโครงการริเริ่มต่างๆในหลายโอกาส พร้อมกับเน้นย้ำว่า ประเทศไทยเต็มใจที่จะมีส่วนร่วมในโครงการที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบัน ประเทศไทยและจีนกำลังอยู่ระหว่างเจรจาในประเด็นการร่วมกันก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วปานกลาง-สูง ซึ่งจะเชื่อมโยงจังหวัดหนองคาย กรุงเทพฯ และระยอง
เมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านเส้นทางรถไฟระหว่างไทยและจีน ได้ข้อสรุปในนการประชุมร่วมกันครั้งที่ 5 เมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งมีฉันทามติและตกลงรวมกันในหลายเประเด็น ตั้งแต่การศึกษาความเป็นไปได้ การวางกรอบการระดมทุนและการฝึกอบรมบุคลากร
การประชุมครั้งต่อไปมีกำหนดจะจัดขึ้นในต้นเดือนส.ค. โดยหวังว่าในช่วงกลางเดือนก.ย.จะมีการลงนามในข้อตกลงด้านกรอบการทำงานระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความร่วมมือในเรื่องเส้นทางรถไฟ และคาดว่าการก่อสร้างเส้นทางรถไฟรางคู่ระยะทาง 867 กม.ช่วงแรกจะเริ่มขึ้นในเดือนต.ค.
หวง ปิน จากศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ โครงการเส้นทางรถไฟดังกล่าวจะถูกใช้เป็นโมเดลหนึ่งของโครงการ Belt and Road Initiative และจะแสดงให้ทั่วโลกเห็นว่า โครงการเช่นนี้สามารถส่งเสริมเศรษฐกิจในภูมิภาคได้ พร้อมกับเสริมว่า โครงการดังกล่าวจะนำมาซึ่งการเปิดตัวของอีกหลายโครงการ
ทั้งนี้ คาดว่าเส้นทางรถไฟดังกล่าวจะเชื่อมโยงเข้ากับเส้นทางรถไฟจีน-ลาวตามที่วางแผนไว้
"เส้นทางรถไปของประเทศไทยจะนำไปสู่เส้นทางสู่ยุโรป ผ่านทางเครือข่ายทางรถไฟของจีน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งของอาเซียนอย่างแท้จริง" นายหวงกล่าว
ด้านนายถัง จือหมิน ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาอาเซียนของจีน สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับประเทศไทย
นายถังระบุว่า "ดังนั้น แนวคิดริเริ่มโครงการพื้นที่และเส้นทางเศรษฐกิจของจีน และความรวมมือในเส้นทางรถไฟไทย-จีน ไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ประเทศไทยเติบโตไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ในอาเซียนอีกด้วย" สำนักข่าวซินหัวรายงาน