อย่างไรก็ตาม สหพันธ์สหภาพการค้าเมียนมาร์ (FTUM) ซึ่งเรียกร้องให้มีการจ่ายค่าชดเชยจากการเลิกจ้างนั้น ระบุว่า ภาคอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอยังคงมีการจ้างแรงงานอยู่ราว 250,000 ราย โดยแรงงานที่ตกงานจำนวน 500 รายดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อภาคแรงงานโดยรวม
ผู้ประกอบการโรงงานผลิตเสื้อผ้ารายหนึ่งของเมียนมาร์เปิดเผยว่า บรรดานายจ้างอาจมองหาช่องทางอื่นเพื่อการรักษาผลกำไร พร้อมทั้งระบุอีกว่า ยังจำเป็นต้องมีกฎระเบียบเพิ่มเติมเพื่อสร้างความมั่นใจว่ามีการบรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ
ขณะเดียวกัน องค์การแรงงานระหว่างประเทศในเมียนมาร์เปิดเผยว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำครั้งใหม่จะช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มแรงงานที่มีรายได้ต่ำ อีกทั้งยังช่วยสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับการแข่งขันอย่างเป็นธรรมของกลุ่มนายจ้างในเมียนมาร์ด้วย
เมื่อวันที่ 28 ส.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำแห่งชาติของรัฐบาลเมียนมาร์ได้กำหนดชั่วโมงทำงานพื้นฐานไว้ที่ 8 ชั่วโมง/วัน ด้วยค่าแรงขั้นต่ำ 3,600 จ๊าด (ประมาณ 2.83 ดอลลาร์สหรัฐ) สำหรับผู้ใช้แรงงานในเมียนมาร์ ค่าแรงขั้นต่ำอัตราใหม่ ซึ่งครอบคลุมทุกภูมิภาคและทุกรัฐนั้น ได้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยไม่รวมถึงธุรกิจที่มีการจ้างพนักงานน้อยกว่า 15 คน เช่น ธรกิจระดับครัวเรือน สำนักข่าวซินหัวรายงาน