รายงานระบุว่า รูปแบบการขยายตัวแบบเดิมของจีนไม่มีความยั่งยืนอีกต่อไป เนื่องจากจีนมีสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีเพิ่มขึ้น ผลิตภาพทุนปรับตัวลง และราคาผู้ผลิตหดตัวลงเรื้อรัง
นายไมเคิล เทย์เลอร์ กรรมการบริหารและประธานฝ่ายควบคุมสินเชื่อประจำเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า "หากสัดส่วนหนี้สินต่อจีดีพีกลับสู่ระดับที่ยั่งยืนอีกครั้ง จีนจะต้องค้นหาแหล่งทรัพยากรใหม่ๆ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาการลงทุนซึ่งมาจากเงินกู้ยืมน้อยลง"
นายเทย์เลอร์เสริมว่า ในบริบทนี้ การปฏิรูปและการปรับสมดุลมีความสำคัญ แต่การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนและอาจจะยากลำบาก ขณะที่การนำพาเศรษฐกิจไปสู่แนวทางที่ยั่งยืนนั้น จะต้องยอมรับอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญกว่าในอดีต
นอกจากนี้ ภาคบริการและธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งต้องการเงินทุนน้อยกว่า ถือเป็นกลไกการขยายตัวใหม่ที่ช่วยหนุนการปรับสมดุลทางเศรษฐกิจ
ขณะเดียวกัน การสนับสนุนเพิ่มเติมด้านนโยบาย เช่น นโยบายผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มขึ้น และมาตรการกระตุ้นทางการคลัง มีความจำเป็นต่อการปรับสมดุลอย่างได้ผล สำนักข่าวซินหัวรายงาน