ทั้งนี้ ความขัดแย้งระหว่างซาอุดิอาระเบียและอิหร่านเกิดขึ้น หลังจากที่ซาอุดิอาระเบียได้ประหารชีวิตนักโทษคดีก่อการร้าย 47 ราย รวมถึง นิมร์ อัลนิมร์ นักการศาสนาชื่อดังชาวชีอะห์ ซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ประท้วงต่อต้านรัฐบาลเมื่อปี 2554 ทำให้ต่อมากลุ่มผู้ประท้วงชาวอิหร่านได้ก่อเหตุโจมตีหน่วยงานด้านการทูตของซาอุดิอาระเบียในอิหร่าน ส่งผลให้ในเวลาต่อมาซาอุดิอาระเบียและประเทศพันธมิตรในภูมิภาคประกาศตัดความสัมพันธ์กับอิหร่าน
-- ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐเตรียมประกาศใช้มาตรการควบคุมอาวุธปืนในอีกสองสามวันนี้โดยยึด "ความสอดคล้อง" กับสิทธิถือครองอาวุธตามรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ
ถ้อยแถลงดังกล่าวของประธานาธิบดีโอบามามีขึ้นที่ทำเนียบขาว โดยได้แถลงร่วมกับนางลอเรตตา ลินช์ อัยการสูงสุด และนายเจมส์ โคมีย์ ผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐ (FBI) รวมถึงให้คณะทำงานช่วยแนะนำวิธีบริหารจัดการต่างๆ ในบทบาทผู้นำเพื่อลดการก่ออาชญากรรมจากอาวุธปืนในประเทศลง
-- ซูดานประกาศขับนักการทูตอิหร่านออกจากประเทศเมื่อวานนี้ เพียงไม่กี่ชั่วโมง หลังจากที่ซาอุดิอาระเบีย และบาห์เรนประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่าน ขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ประกาศลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต
นอกจากนี้ ซูดานยังได้เรียกเอกอัครราชทูตประจำกรุงเตหะรานกลับประเทศ
ทางการซูดานได้แจ้งการตัดสินใจดังกล่าวต่อนายโมฮัมหมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลลาซิส ซึ่งเป็นรมว.กลาโหมของซาอุดิอาระเบีย และได้ประนามอิหร่านต่อการแทรกแซงกิจการภายในของชาติอาหรับ และการไม่ปกป้องสถานทูตและสถานกงสุลของซาอุดิอาระเบียในกรุงเตหะราน
-- สื่อสหรัฐรายงานว่า โฟล์คสวาเกน ค่ายรถสัญชาติเยอรมัน อาจถูกสั่งปรับเป็นเงินหลายพันล้านดอลลาร์ เนื่องจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ดำเนินการฟ้องร้องคดีแพ่งฐานฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยอากาศบริสุทธิ์ (Clean Air Act) หลังพบว่ามีการแอบติดตั้งอุปกรณ์โกงการตรวจจับมลพิษไอเสียในรถยนต์ดีเซลเกือบ 600,000 คัน
เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐเปิดเผยว่า โฟล์คสวาเกนอาจถูกสั่งปรับเป็นเงินกว่า 9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นคันละ 37,500 ดอลลาร์ต่อการฝ่าฝืนกฎหมายหนึ่งครั้ง