ภูมิภาคที่มีทรัพยกรอุดมสมบูรณ์ เช่น เอเชียกลาง เอเชียตะวันตก เอเชียตะวันออกเฉัยงใต้ และแอฟริกา ต่างเข้าร่วมในโครงการ "Belt and Road Initiative" หรือแนวคิดริเริ่มโครงการพื้นที่และเส้นทางเศรษฐกิจของจีน ซึ่งประเทศเศรษฐกิจที่อยู่ในโครงการดังกล่าวมีทองคำสำรองทั้งสิ้นประมาณ 21,000 เมตริกตัน ซึ่งถือเป็น 41.5% ของทองคำสำรองทั้งหมด นอกจากนี้ ผลผลิตทองคำรวมของกลุ่มประเทศดังกล่าวอยู่ที่ 1,116 ตัน นับเป็น 35.6% ของผลผลิตทองคำโลกในปี 2557 ทั้งนี้ ในบรรดา 20 เหมืองทองคำของโลก 6 เหมืองของจำนวนดังกล่าวอยู่ในภูมิภาคเหล่านี้
ขณะเดียวกัน ประเทศที่อยู่ในเส้นทาง Belt and Road มีอัตราการใช้และมีอุปสงค์ด้านทองคำที่แข็งแกร่ง โดยในปี 2557 ประเทศดังกล่าวใช้ทองคำทั้งสิ้น 2,025 ตัน ถือเป็น 82.4% ของอัตราการใช้ทองคำทั่วโลกและอุปสงค์ด้านการลงทุนในทองคำอยู่ที่ 778 ตัน นับเป็น 77% ของการลงทุนทั่วโลก
ทั้งนี้ ในขณะที่จีนอยู่ระหว่างผลักดันให้อุตสาหกรรมเหมืองทองคำก้าวสู่ระดับโลกนั้น จีนก็สามารถสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนา การผลิตและการผลักดันกลไกด้านเหมืองแร่ คมนาคม และอุปกรณ์อัตโนมัติของประเทศสู่ระดับโลกได้ นอกจากนี้ จีนยังสามารถผลักดันมาตรฐานด้านเทคนิคของอุตสาหกรรมก้าวหน้าสู่ระดับโลก และทำให้นานาประเทศยอมรับและใช้มาตรฐานของจีนมากขึ้น