ส่วนฮ่องกงเขยิบขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 5 และสิงคโปร์หล่นไปอยู่ที่อันดับ 6 ในรายชื่อดังกล่าว
ในการปรับปรุงดัชนีครั้งก่อนเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา โตเกียวไต่ขึ้นไปอยู่ที่อันดับ 3 จากอันดับ 6 ในเดือนก.ย. 2562 โดยดัชนีดังกล่าวจะได้รับการปรับปรุงปีละ 2 ครั้งทุกเดือนมี.ค.และก.ย.
รัฐบาลญี่ปุ่นได้พยายามที่จะเพิ่มความน่าดึงดูดใจของกรุงโตเกียวในฐานะศูนย์กลางการเงินโลก โดยร่วมมือกับธนาคารและบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่เพื่อดึงดูดสถาบันและผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจากต่างประเทศ
รายงานล่าสุดที่เปิดเผยเมื่อปลายเดือนก.ย.ที่ผ่านมานั้น ศูนย์กลางการเงินในเอเชียและแปซิฟิกได้รับการจัดอันดับที่แตกต่างกันไป โดย 10 เมืองมีอันดับลดลง และ 14 เมืองมีอันดับเพิ่มขึ้น
ส่วนปักกิ่งและซานฟรานซิสโกยังคงอยู่ที่อันดับเดิมคือ 7 และ 8 ตามลำดับ ขณะที่เซินเจิ้นและซูริคเพิ่งเข้ามาติดท็อปเท็นที่อันดับ 9 และ 10 ตามลำดับ ขณะที่ลอสแองเจลิส และเจนีวาหลุดจากอันดับท็อปเท็น
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ดัชนี Global Financial Centers Index ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นครั้งที่ 28 (GFCI 28) เป็นการประเมินขีดความสามารถด้านการแข่งขันในอนาคต และเป็นการจัดอันดับศูนย์กลางการเงินขนาดใหญ่ 111 แห่งทั่วโลก ซึ่งกรุงเทพมหานครของไทยอยู่ในอันดับที่ 58
ทั้งนี้ 10 อันดับศูนย์กลางการเงินชั้นนำของโลกมีดังนี้:- 1. นิวยอร์ก 2. ลอนดอน 3. เซี่ยงไฮ้ 4. โตเกียว 5. ฮ่องกง 6. สิงคโปร์ 7. ปักกิ่ง 8. ซานฟรานซิสโก 9. เซินเจิ้น 10. ซูริค