“ควรมีการดำเนินแนวทางทีละขั้นตอนสู่การบรรลุเป้าหมายระยะยาวนี้" คณะทำงานระบุในรายงานเบื้องต้นหลังปฏิบัติงานนานนับสัปดาห์ในญี่ปุ่นในความพยายามที่จะลดปริมาณสารกัมมันตรังสี โดยระบุเพิ่มเติมว่ากลยุทธ์ดังกล่าวจะทำให้สามารถจัดสรรทรัพยากรต่างๆเพื่อการฟื้นฟูสาธารณูปโภคที่จำเป็นในการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
หลังเหตุภัยพิบัติที่โรงงงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมะที่ส่งผลให้มีการแพร่กระจายสารกัมมันตรังสีปริมาณสูงในบริเวณพื้นที่ด้านนอกโรงงานนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจที่จะลดจำนวนพื้นที่ที่มีการวัดปริมาณการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีได้สูงกว่า 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถกลับไปยังบ้านเรือนได้อีกครั้ง
สำหรับเพื้นที่ที่มีปริมาณสารกัมมันตรังสีไม่เกิน 20 มิลลิซีเวิร์ตนั้น รัฐบาลระบุว่าจะพยายามลดปริมาณสารกัมมันตรังสีลงให้เหลือ 1 มิลลิซีเวิร์ต หรือต่ำกว่า โดยถือเป็นเป้าหมายในระยะยาว
ทั้งนี้ คณะทำงานของ IAEA ซึ่งนำโดยนายฮวน คาร์ลอส เลนติโฮ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีของเสียและวัฏจักรเชื้อเพลิงของ IAEA ได้เริ่มปฏิบัติงานในญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค. โดยเป็นการติดตามผลการดำเนินงานของคณะทำงานชุดก่อนที่มีขึ้นในเดือนต.ค.2554
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า นายเลนติโฮกล่าวว่า จะมีการเปิดเผยรายงานขั้นสุดท้ายภายใน 2 เดือน