รายงาน Fiscal Monitor ของ IMF ระบุว่า "การปฏิรูปภาษีเชื้อเพลิงอาจช่วยลดผลกระทบเชิงลบจากภายนอกที่เกิดจากการใช้พลังงาน เช่น ปัญหามลพิษและภาวะโลกร้อน อีกทั้งเปิดโอกาสเพื่อก่อให้เกิดการปฏิรูปภาษีที่ช่วยกระตุ้นการเติบโต เช่น การปรับลดภาษีแรงงานเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน"
รายงานชี้ว่า "ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนานั้น การยกระดับการปฏิรูปเงินอุดหนุนด้านพลังงานช่วยก่อให้เกิดโอกาสในการส่งเสริมการศึกษา สาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐาน เช่นเดียวกับโครงการต่างๆที่เอื้ออำนวยต่อประชากรผู้ยากไร้"
สำนักงานพลังงานสากล (IEA) เปิดเผยว่า ในปี 2556 เงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 5.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าเงินอุดหนุนพลังงานหมุนเวียนกว่าสี่เท่า
รายงานดังกล่าวระบุว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงทั่วโลกจะเอื้ออำนวยต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวม แต่จะบั่นทอนสถานะการคลังของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศที่มีรายได้ปานกลาง สำนักข่าวซินหัวรายงาน