แถลงการณ์ของหัวเว่ยระบุว่า ระบบเคเบิล MCT ครอบคลุมระยะทางประมาณ 1,300 กิโลเมตร โดยจะเชื่อมโยงระหว่างเชอราติงในมาเลเซีย และจังหวัดระยองของไทย และมี Branching Unit ที่เชื่อมจากสายเคเบิลหลักไปยังสีหนุวิลล์ในกัมพูชา นอกจากนี้ ประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวและเมียนมาร์จะสามารถเชื่อมต่อผ่านทางโครงข่ายภาคพื้นดินได้ด้วย
"เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมมือกับลูกค้าของเรา และเริ่มดำเนินการพัฒนาและก่อสร้างทางด่วนใยแก้ว MCT เพื่อมอบโครงสร้างพื้นฐานล้ำสมัยซึ่งจะสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของภูมิภาคอินโดจีน" หม่า หยานเฟิง รองประธาน หัวเว่ย มารีน เน็ตเวิร์คส์ กล่าว
ระบบเคเบิล MCT จะใช้เทคโนโลยี 100G ล่าสุด ด้วยกำลังการผลิตเกิน 30 Tbps ระบบดังกล่าวจะพร้อมสำหรับให้บริการในเชิงพาณิชย์ภายในสิ้นปี 2559
ขณะที่แถลงการณ์ของเทลโคเทคระบุว่า โครงการนี้คาดว่าจะมีมูลค่าราว 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะเป็นครั้งแรกสำหรับกัมพูชาที่ได้เชื่อมโยงกับภูมิภาคผ่านทางเคเบิลใต้น้ำ